วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

คำศัพท์ดนตรีสากล (หมวดอักษร D)


D 
ชื่อระดับเสียง ( เร ) 
Da, dal, dallo, dalla (It. ดา , ดัล , ดัลโล , ดัลลา ) 
จาก , ที่ , โดย , ไปยัง , สำหรับ , เหมือน 
Da capo (It. ดา คาโป ) 
จากจุดเริ่มต้น คำย่อคือ D.C. 
D.C. al Fine 
หมายถึง ให้กลับไปใหม่ที่จุดเริ่มต้น และเล่นจนถึงคำว่า Fine 
D.C. al Segno 
หมายถึง ให้กลับใหม่ที่จุดเริ่มต้น และเล่นจนถึงเครื่องหมาย Segno 
Dal segno (It. ดาล เซคโน ) 
ย้อนกลับจากเครื่องหมาย segno คำย่อคือ D.S. 
D.S. al Fine 
หมายถึง ให้กลับไปใหม่ที่เครื่องหมาย D.S. แล้วเล่นจนถึงคำว่า Fine( ฟิเน่ ) 
Dampfer ( แดมพ์เฟอร์ ) 
เครื่องลดความดังของเสียง 
Dans (Fr. ด็อง ) 
ใน , ภายใน 
Debut (Fr. เดบู ) 
การปรากฏตัวครั้งแรกต่อสาธารณะชน การบรรเลงครั้งแรก 
Decibel ( เดซิเบล ) 
หน่วยวัดความดังของเสียง คำย่อคือ db. 
Decide (Fr. เดซีเด ) 
แน่นอน , ตัดสินใจแล้ว 
Deciso (It. เดซีโซ ) 
กล้าหาญ มั่นใจเต็มที่ ตัดสินใจเด็ดขาด เต็มไปด้วยพลัง 
Decrescendo (It. ดีเครเชนโด ) 
เบาลงทีละน้อย ๆ คำย่อคือ decresc. 
Degree ( ดีกรี ) 
ระดับขั้นของโน้ตในสเกล เช่นโน้ต D เป็นระดับขั้นที่สองของบันไดเสียง C เมเจอร์ 
Dehors (Fr. เดท์ออร์ ) 
ด้วยการย้ำอย่างหนักแน่น ทำให้เด่นออกมา 
Delicato (It. เดลิคาโต ) 
ด้วยท่าทางอันเรียบร้อยและละเอียดอ่อน 
Demi (Fr. เดมิ ) 
ครึ่ง 
Demisemiquaver ( เดมิเซมิเควเวอร์ ) 
โน้ตตัวเขบ็ตสามชั้น 
Desto (It. เดสโต ) 
สดชื่นมีชีวิตชีวา 
Detache (Fr. เดตาเซ ) 
ซึ่งแยกออกจากกัน 
Deutlich (Gr. ดอยทริชค์ ) 
ใส , เด่น 
Di (It. ดิ ) 
ไปยัง , โดย , ของ , สำหรับ , กับ 
Di molto (It. ดิ มอลโต ) 
อย่างมาก 
Diatonic ( เดียอาโทนิก ) 
1. หมายถึงเสียงที่เกิดขึ้นในบันไดเสียงเมเจอร์หรือไมเนอร์ 
2. การเคลื่อนไปในลักษณะครึ่งเสียงแบบไดอาโทนิกหมายถึงการเคลื่อนที่ ไปยังโน้ตใกล้เคียงกันโดยมีชื่อโน้ตต่างกันขณะที่การเคลื่อนไปในลักษณะครึ่งเสียงแบบโครมาติกจะเป็นการเคลื่อนที่ไปที่โน้ตชื่อเดียวกันเพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลงด้วยเครื่องหมายแปลงเสียง 
Diminished ( ดิมินิชท์ ) 
รูปแบบของคอร์ดที่ประกอบด้วยโน้ตลำดับที่ 1 3b 5b ( C Eb Gb) 
Diminuendo (It. ดิมินูเอนโด ) 
เบาลงเรื่อย ๆ คำย่อคือ dim, dimin. 
Diminution ( ดิมินูชั่น ) 
การย่อ การแสดงโมทีฟโดยตัวโน้ตที่มีอัตราจังหวะสั้นกว่าตัวโน้ตเดิมในโมทีฟนั้น ๆ 
Dissonance ( ดิสโซแนนซ์ ) 
เสียงกระด้างขั้นคู่เสียงหรือคอร์ดที่ฟังแล้วไม่รู้สึกผ่อนคลายและจำเป็นจะต้องเคลื่อนเข้าหาขั้นคู่เสียงหรือคอร์ดที่มีเสียงสบายกว่าหรือเสียงที่กลมกล่อมกว่าการเคลื่อนที่จากเสียงกระด้างไปหาเสียงกลมกล่อมนี้เรียกว่า " การเกลา " ขั้นคู่เสียงกระด้างได้แก่คู่สอง คู่เจ็ด และสำหรับคอร์ด คือ อ็อกเมนเต็ด และดิมินิชท์ทุกคอร์ด 
Distinto ( ดิสทินโต ) 
ชัดเจน 
Divertimento (It. ดิเวอร์ติเมนโต ) 
คีตลักษณ์คล้ายแบบของสวีทและซิมโฟนีปกติประกอบด้วยเพลงเต้นรำและท่อนเพลงสั้น ๆ บรรเลงโดยวงดนตรีขนาดเล็ก 
Divisi (It. ดิวิซิ ) 
แบ่งแยกออกจากกันใช้ในบทเพลงสำหรับบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีเพื่อบ่งชี้ว่าให้นักดนตรีซึ่งมีอยู่มากมายนั้นแยกกันเล่นโน้ตในคอร์ดนั้น ๆ คำย่อคือ div. 
Dolce (It. ดอลเช ) 
อ่อนหวานนุ่มนวล 
Dolente (lt. ดอลเลนเต ) 
เศร้าสร้อย หงอยเหงา 
Dolore (lt. โดโรเร ) 
เศร้า เจ็บปวด เสียใจ 
Dominant ( ดอมิแนนท์ ) 
ขั้นที่ห้าของบันไดเสียงเมเจอร์และไมเนอร์ คอร์ดดอมิแนนท์ก็คือทรัยแอดที่สร้างบนโน้ตเสียงนี้ 
Dominant seventh ( ดอมิแนนท์ เซเวนท์ ) 
คอร์ดดอมิแนนท์ที่เพิ่มโน้ตตัวที่ 7 ของบันไดเสียงเข้าไป เช่น G7 ( G B D F) 
Doppio (It. ดอปปิโอ ) 
มากกว่าเป็นสองเท่า 
Doppio movimento (It. ดอปปิโอ โมวิเม็นโต ) 
เร็วขึ้นเป็นสองเท่า 
Doppio piu lento (It. ดอปปิโอ ปิว เล็นโต ) 
ช้าลงเป็นสองเท่า 
Doroloso (It. ดอลโลโรโซ ) 
เศร้า , เซื่องซึม 
Dorian mode ( โดเรียน โมด ) 
โมดโดเรียน โมดที่ใช้ในเพลงโบสถ์ยุคกลาง ซึ่งอาจสร้างโดยการเล่นจาก D ไป D บนคีย์ขาวของเปียโน 
Dot ( ด๊อท ) 
จุด 1. จุดที่อยู่หลังตัวโน้ตนั้นย่อมเพิ่มความยาวเสียงอีกครึ่งหนึ่งของโน้ตตัวนั้นดัง 2. จุดที่อยู่เหนือหรือใต้ตัวโน้ตโด หมายถึง ให้เล่นแบบสตั้กคาโต 
Double bar ( ดับเบิล บาร์ ) 
1. ปรากฏในส่วนจบของบทเพลงตอนหนึ่ง ( ยังไม่จบเพลงทั้งหมด ) 
2. ปรากฏในส่วนจบของบทเพลงนั้นหรือท่อนของบทเพลงนั้นโดยสมบูรณ์ไม่มีต่ออีกแล้ว 
Double bass ( ดับเบิลเบส ) 
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 
Double bassoon ( ดับเบิลบาสซูน ) 
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้ที่ใช้ลิ้นคู่ ที่มีระดับเสียงต่ำ 
Double flat ( ดับเบิลแฟล็ท ) 
เครื่องหมายดับเบิลแฟล็ทจัดวางไว้ข้างหน้าโน้ตเพื่อทำให้โน้ตนั้นมีเสียงต่ำลงหนึ่งเสียงเต็ม 
Double period ( ดับเบิลพีเรียด ) 
ประโยคใหญ่คู่ประโยคใหญ่สองประโยคที่ประกอบกันอย่างสมดุลโดยแบ่งแยกกันด้วยลูกจบกลาง 
Double sharp ( ดับเบิลชาร์ป ) 
เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์จัดวางไว้หน้าตัวโน้ตเพื่อทำให้ระดับเสียงของตัวโน้ตสูงขึ้นหนึ่งเสียง 
Doubling ( ดับบลิ้ง ) 
การซ้ำโน้ตการจัดให้เสียงในคอร์ดเสียงเดียวกันอยู่ในแนวเสียงมากกว่าหนึ่งแนว 
Douce(ment) (Fr. ดูส์มาน ) 
อย่างอ่อนหวาน 
Downbeat ( ดาวน์บีท ) 
หมายถึงจังหวะตกที่จังหวะแรกของห้องปกติมักให้เน้น ในการอำนวยเพลงนั้นจังหวะตกเกิดขึ้นจากการใช้สัญญาณตวัดมือลง 
Drangend (Gr. เดรนเกนด์ ) 
เร็วขึ้น 
Drone ( โดรน ) 
1. ชื่อท่อเสียงที่ติดกับเครื่องดนตรีประเภทปี่สก๊อต แต่ละท่อจะทำเสียงได้หนึ่งเสียงเป็นเสียงยาวต่อเนื่องกัน 
2. การซ้ำและยาวต่อเนื่องกันของเสียงเบส เหมือนเสียงโดรน ( หรือเรียกว่า " เสียงเสพ " คือเสียงหลักที่ลากยาวอย่างต่อเนื่องจากการเป่าแคน ) ที่เกิดขึ้นตามข้อ 1 เราเรียกว่า โดรนเบส 
Druckend (Gr. ดรุคเคนด์ ) 
หนัก เน้น 
Drum ( ดรัม ) 
กลองเป็นเครื่องดนตรีประเภทตีกระทบชนิดหนึ่ง 
1. สะแนร์ดรัม หรือกลองเล็ก ประกอบด้วยแผงลวดขึงรัดผ่านผิวหน้ากลองด้านล่าง เพื่อให้เกิดเสียงกรอบ ๆ ดังแต๊ก ๆ ตัวกลองทำด้วยไม้หรือโลหะและสามารถรัดให้หนังตึงด้วยขอบไม้ด้านบนและล่างสามารถปลดสายสะแนร์เพื่อให้เกิดเสียงทุ้มดังตุ้มตุ้มได้และตีกลองเล็กด้วยไม้นิยมใช้กลองชนิดนี้ทั้งในวงดุริยางค์และวงดนตรี 
2. เทเนอร์ดรัมมีขนาดใหญ่กว่าสะแนร์ดรัมเป็นกลองชนิดที่สร้างขึ้นโดยไม่ใช้สายสะแนร์โดยทั่วไปบรรเลงในหมวดกลองไม้ที่ใช้ตีก็เป็นชนิดหัวไม้หุ้มสักหลาด 
3. กลองใหญ่เป็นกลองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดประกอบด้วยตัวกลองที่ทำด้วยไม้และมีหนังกลองทั้งสองด้านเสียงที่เกิดจากการตีกลองใหญ่จะไม่ตรงกับระดับเสียงที่กำหนดไว้ทางตัวโน้ตตีด้วยไม้ที่มีสักหลาดหุ้มชนิดที่มีหัวที่ปลายทั้งสองข้างใช้เพื่อทำเสียงรัว 
4. กลองทิมปานี ( หรือกลองเค็ทเทิ้ลดรัม ) เป็นกลองที่มีลักษณะเป็นหม้อกระทะซึ่งมีหน้าหนังกลองหุ้มทับอยู่ด้านบนเป็นกลองชนิดเดียวที่ขึ้นเสียงแล้วได้ระดับเสียงที่แน่นอนเมื่อคลายหรือขันหน้ากลองโดยไม่ว่าจะใช้วิธีขันสกรูหรือเหยียบเพดดัล ( ที่เหยียบ ) ไม้ที่ใช้ตีก็มีการหุ้มนวมตรงหัวไม้ตี ตีได้ทั้งเป็นจังหวะและรัว 
Duet ( ดูเอ็ด ) 
บทประพันธ์สำหรับผู้เล่นสองคน 
Dulcimer ( ดัลซิเมอร์ ) 
ขิมฝรั่งเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายในยุคต้นที่ตีด้วยไม้ตีขิมเล็ก ๆ สองอัน 
Duo ( ดูโอ ) 
คู่หนึ่งหมายถึง duet 
Duple time ( ดูเพิ้ลไทม์ ) 
เครื่องหมายกำหนดจังหวะประเภทนับสองจังหวะในหนึ่งห้อง 
Dynamic mark ( ไดนามิก มาร์ค ) 
สัญลักษณ์และคำที่บ่งชี้ถึงความดังและความเบาของดนตรี เช่น เครเชนโด เดเครเชนโด p. f. ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น