วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

บรรทัด 5 เส้นกับตัวโน๊ต


  บรรทัด 5 เส้นกับตัวโน๊ต


เรื่องดนตรีนี่ตอนเป็นเด็กๆเคยบ้าเรียนด้วยตัวเองอยู่พักนึง แต่ก็ไม่ได้ทุ่มเทให้มันอย่างต่อเนื่อง ก็เลยเป็นแบบเรียนๆเล่นๆบ้างทีก็ทิ้งไปเลยไม่ได้สนใจ จนกระทั่งซื้อ iphone มาแล้ว download โปรแกรม mini piano มาลองเล่นดูก็ชักเริ่มอยากเรียนอยากศึกษาขึ้นมาอีก
ล่าสุดเมื่อประมาณ 2-3 เดือนที่ผ่านมาได้ไปทำ project ที่บ้านเพื่อน ซึ่งเค้ามี piano อยู่หลังนึงเลยลองเล่นดู ก็เพิ่งรู้ว่าเราสามารถแกะตัวโน้ตเพลงได้ถ้าเราร้องเพลงนั้นเป็น แต่ยังใส่ cord ใส่ลูกเล่นอื่นๆไม่ได้
หลังจากวันนั้นได้ไปรื้อหนังสือทฤษฎีดนตรีเก่าๆออกมาอ่าน ซึ่งเหมือนเดิมคืองงและไม่เข้าใจ เลยลองใช้วิธีกลับไปสู่พื้นฐานเอา Guitar มาดีดไล่ตัวโน๊ตแบบง่ายๆนั้นคือ C Major Scale ตามรูป
c major scale

รูปที่แสดงคือสัญลักษณ์ที่ใช้ในการบันทึกโน๊ตสากลแยกออกเป็นส่วนๆดังนี้
  • เส้นแนวนอนเรียกว่า “บรรทัด  5 เส้น” (Staff)
  • สัญลักษณ์ด้านซ้ายสุดเรียกว่า “กุญแจประจำหลัก”  (Clef) ในรูปนี้เป็นประเภท “กุญแจซอล” (G-clef)
  • เส้นแนวตั้ง 2 เส้นด้านขวาสุดเรียก “เส้นกั้นห้องคู่” (Double Bar)
  • สัญลักษณ์รูปตัวกลมเรียกว่า “ตัวโน๊ต” (Note) ในรูปนี้เป็นประเภท “โน๊ตตัวกลม” (Whole Note)
ระดับเสียง/ความถี่ของตัวโน๊ต
การเรียกระดับเสียงของตัวโน๊ตตามที่นิยมกันจะเรียก โด, เร, มี, ฟา, ซอล, ลา, ที หรือแทนด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ C, D, E, F, G, A, B โดยที่โน๊ตตัว “โด” (C) เป็นระดับเสียงต่ำไล่ไปจนถึงโน๊ตตัว “ที” (B) ซึ่งเป็นระดับเสียงสูง ความถี่ของตัวโน๊ตแต่ละตัวเป็นดังนี้
  • โน๊ตตัว “โด” มีความถี่ 262 Hz (Midle C หรือ คีย์ที่ 40 ของเปียโน)
  • โน๊ตตัว “เร” มีความถี่ 294 Hz
  • โน๊ตตั “มี”  มีความถี่ 330 Hz
  • โน๊ตตัว “ฟา” มีความถี่ 349 Hz
  • โน็ตตัว “ซอล” มีความถี่ 370 Hz
  • โน็ตตัว “ลา” มีความถี่ 440 Hz
  • โน๊ตตัว “ที” มีความถี่ 495 Hz
หรือถ้าต้องการหาความถี่ของคีย์เปียโนแต่ละคีย์สามารถหาได้จากสูตร
โดยที่ n แทนหมายเลขคีย์ของเปียโนตั้งแต่คีย์ที่ 1 -88
บรรทัด 5 เส้น (Staff)
มีลักษณะตามชื่อที่เรียกเลย คือเป็นเส้นแนวนอน 5 เส้นเว้นระยะระหว่างเส้นเท่าๆกัน เห็นเป็นเส้น (Line) 5 เส้น เป็นช่อง (Space) 5 ช่อง เส้นล่างสุดเรียกว่า “เส้นบรรทัดที่ 1″ เรียงไปจนถึงเส้นบนสุดเรียก “เส้นบรรทัดที่ 5″ และเช่นเดียวกันช่องด้านล่างสุดเรียก “ช่องบรรทัดที่ 1″ เรียงไปจนถึงช่องบนสุดเรียก “ช่องบรรทัดที่ 4″
เส้นและช่องดังกล่าวมีไว้สำหรับบ่งบอกระดับเสียงของตัวโน๊ตที่นำมาวาง โดยที่เส้นหรือช่องด้านทางล่างแทนระดับเสียงต่ำ ทางด้านบนจะแทนระดับเสียงที่สูงขึ้น ถ้าตัวโน๊ตที่บันทึกมีระดับเสียงสูงหรือต่ำกว่าช่วงของบรรทัด 5 เส้น จะใช้ “เส้นน้อย” (Ledger Line) มาช่วยเสริม ตามตัวอย่างในรูปแสดงให้เห็นว่าตัวโน๊สด้านล่างสุดจะมีเส้นน้อยขีดทับอยู่
ระดับเสียงของแต่ละเส้นหรือช่องจริงๆแล้วจะขึ้นอยู่กับกุญแจประจำหลัก แต่ที่นิยมจะมีกุญแจซอล กับกุญแจฟา ตัวอย่างในรูปเป็นกุญแจซอล หมายความว่าเป็นการกำหนดให้เส้นบรรทัดที่ 2 เป็นโน๊ตตัวซอล และถ้าเราไล่ัตัวโน๊ตแต่ละเส้นบรรทัดจะได้
  • เส้นบรรทัดที 5 แทนโน็ตตัว “ฟา” (F)
  • เส้นบรรทัดที่ 4 แทนโน๊ตตัว “เร” (D)
  • เส้นบรรทัดที่ 3 แทนโน๊ตตัว “ที” (B)
  • เส้นบรรทัดที่ 2 แทนโน๊ตตัว “ซอล” (G)
  • เส้นบรรทัดที่ 1 แทนโน๊ตตัว “มี” (E)
เช่นเดียวกันถ้าเราไล่ตัวโน๊ตแต่ละช่องบรรทัดจะได้
  • ช่องบรรทัดที่ 4 แทนโน๊ตตัว “มี” (E)
  • ช่องบรรทัดที่ 3 แทนโน๊ตตัว “โด” (C)
  • ช่องบรรทัดที่ 2 แทนโน๊ตตัว “ลา” (A)
  • ช่องบรรทัดที่ 1 แทนโน๊ตตัว “ฟา” (F)
กุญแจประจำหลัก (Clef)
ทำหน้าที่กำหนดตัวโน๊ตของบรรทัด  5 เส้น มีอยู่ 3 ประเภทคือ
 กุญแจซอล (G-Clef) ถ้าหัวของกุญแจอยู่ที่เส้นบรรทัดใด เส้นนั้นจะถูกกำหนดให้เป็นโน๊ตตัว G ตามปกติจะอยู่ที่เส้นบรรทัดที่ 2
 กุญแจฟา (F-Clef) ถ้าหัวของกุญแจอยู่ที่เส้นบรรทัดใด เส้นนั้นจะถูกกำหนดให้เป็นโน๊ตตัว F ปกติจะอยู่ที่เส้นบรรทัดที่ 4
 กุญแจโด (C-Clef) ถ้าหัวของกุญแจอยู่ที่เส้นบรรทัดใด เส้นนั้นจะถูกกำหนดให้เป็นโน๊ตตัว C ซึ่งจะเป็นเส้นบรรทัดใดนั้นขึ้นอยู่เครื่องดนตรีที่เล่น เช่น ถ้าเป็นไวโลลินจะอยู่เส้นบรรทัดที่ 3 ถ้าเป็นเซลโลจะอยู่เส้นบรรทัดที่ 4 เป็นต้น

เส้นกันห้อง (Bar Line)

เส้นกันห้องใช้สำหรับแบ่งบรรทัด 5 เส้นออกเป็นส่วนๆ เท่าๆกันเพื่อใช้สำหรับกำหนดอัตราจังหวะของดนตรี และแบ่งดนตรีออกเป็นท่อนๆ
ประเภทของเส้นกันห้อง (Bar Line) มีดังนี้
  • เส้นกั้นห้อง (Standard) สำหรับกั้นระหว่างห้อง
  • เส้นกันห้องคู่ (Double) สำหรับกั้นแต่ละท่อนของดนตรี เช่น ท่อน Intro, ท่อนเนื้อร้อง, ท่อนคอรัส เป็นต้น
  • เส้นจบ (End) สำหรับบอกท่อนจบเพลง
  • Begin Repeat <ยังหาชื่อไทยไม่ได้>
  • End Repeat <ยังหาชื่อไทยไม่ได้>
  • Begin and End Repeat <ยังหาชื่อไทยไม่ได้>
ตัวโน๊ต (Note)
ตัวโน็ตคือสัญลักษณ์ใช้บอกระดับเสียงและความยาวของเสียงดนตรี โดยที่ระดับเสียงดนตรีดูจากตำแหน่งของตัวโน๊ตที่วางอยู่บนบรรทัด 5 เส้น ส่วนความยาวของเสียงดูจากลักษณะของตัวโน๊ตซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้
โน๊ตตัวกลม (Whole Note) มีความยาวเท่ากับโน๊ตตัวขาว 2 ตัว
โน๊ตตัวขาว (Half Note) มีความยาวเท่ากับโน๊ตตัวดำ 2 ตัว
โน๊ตตัวดำ (Quarter Note) มีความยาวเท่ากับโน๊ตตัวเขบ็ต 1 ชั้น 2 ตัว
โน๊ตตัวเขบ็ต 1 ชั้น (Eighth Note) มีความยาวเท่ากับโน๊ตตัวเขบ็ต 2 ชั้น 2 ตัว
โน๊ตตัวเขบ็ต 2 ชั้น (Sixteenth Note) มีความยาวเท่ากับโน๊ตตัวเขบ็ต 3 ชั้น 2 ตัว ซึ่งเขบ็ตสามารถเพิ่มได้จนถึง 5 ชั้น
ถ้าจะเทียบว่าตัวโน๊ตแต่ละตัวเท่ากับกี่จังหวะเราใช้สัญลักษณ์ที่เรียกว่า “เครื่องหมายกำหนดจังหวะ”  (Time Signature) เป็นตัวบ่งบอก
เมื่อก่อนเคยเข้าใจมาตลอดว่าโน๊ตตัวดำ (Quarter Note) มีค่าเท่ากับ 1 จังหวะเสมอ ซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่
ตัวอย่า่งสัญลักษณ์เครื่องหมายกำหนดจังหวะ (Time Signature) ที่แสดงในรูป คือตัวเลข 4 ด้านบนและด้านล่าง
  • ตัวเลขด้านบนแสดงจำนวนของจังหวะใน 1 ห้อง ในที่นี้คือ 4 จังหวะ
  • ตัวเลขด้านล่างเป็นตัวบอกว่าโน็ตตัวใดแทน 1 จังหวะ ในที่นี้  4 หมายถึงโน็ตตัวดำ (Quarter Note) แทน 1 จังหวะ ถ้าเป็น 2 หมายถึงโน๊ตตัวขาว (Haft Note) แทน 1 จังหวะ ถ้าเป็น 8 หมายถึงโน็ตตัวเขบ็ต 1 ชั้น (Eighth Note) แทน 1 จังหวะ เป็นต้น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น