วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

โครงสร้างคอร์ด


โครงสร้างคอร์ด

         คราวนี้เพื่อนๆอยากทราบมั้ย ครับ ว่าคอร์ดชื่อแปลกๆ
 ที่เคยเจอตามหนังสือเพลงทั่วๆไปจะมีโครงสร้างคอร์ดยังไงกันบ้าง
 ตัวอย่างเช่น Asus4, Caug4, Gdim7 เป็นต้น เป็นไงครับ 
แค่เห็นชื่อคอร์ดก็ถึงกับขยาดเลยใช่มั้ยครับ แต่อันที่จริงก็ไม่ได้ยากอย่าง
 ที่คิดกันหรอกครับ เพราะแต่ละชื่อมีโครงสร้างของมันชัดเจน ตามชื่อเรียกอยู่แล้ว 
เพียงแต่เรามักจะหลีกเลี่ยง คอร์ดเหล่านี้ด้วยความไม่คุ้นเคย โดยการใช้คอร์ดใกล้เคียงแทน
 เช่น Asus4 จับยังไงก็ไม่รู้ บางทียังไม่ทันเห็น หน้าของคอร์ดเลยด้วยซ้ำ 
ก็เลี่ยงไปจับคอร์ด A แทนซะแล้ว ซึ่งการใช้คอร์ดแทนดังกรณีเช่นนี้ก็ไม่ได้ผิดอะไร 
หรอกครับ เพราะคอร์ดที่ดูชื่อยากๆเนี่ย
 อันที่จริงมันก็มีพื้นฐานมาจากคอร์ดหลักๆของมันเอง
 งงรึเปล่าครับ ว่ากันง่ายๆ คือ เสียงของแต่ละคอร์ดถูกแบ่งออกเป็น 2 ทางหลักๆ คือ

1.ทาง Major ซึ่งเวลาเขียนชื่อคอร์ดส่วนใหญ่เราจะละคำว่า "Major" เอาไว้
 เช่น คอร์ด A เรียกเต็มๆว่า คอร์ด
"เอเมเจอร์" เขียนเต็มๆว่า Amaj แต่อย่างที่บอกแหล่ะครับว่าเราจะละคำนี้เอาไว้

 และเรียกกันสั้นๆว่า "คอร์ดเอ"
และเขียนสั้นๆว่า "คอร์ด A"


2.ทาง minor เวลาเขียนจะนิยมแทนคำว่า minor ด้วยตัว
 m เล็ก ตัวอย่างเช่น Am อ่านว่า "เอไมเนอร์"
ในกรณีที่เราคิดว่าคอร์ดที่ใช้ในเพลงจริงๆนั้นมันยากเกินไป
 ก็สามารถใช้คอร์ดหลักแทนได้ แต่จะต้องคำนึงถึง ว่าคอร์ดนั้นๆ
เป็นคอร์ดในทาง Major หรือ minor สังเกตุง่ายๆครับ
 ถ้ามีตัว mเล็กติดอยู่ด้วยแสดงว่าเป็นคอร์ดใน ทางไมเนอร์
 แต่ถ้าไม่มีก็แสดงว่าเป็นคอร์ดในทาง Major ครับ
 ตัวอย่างเช่น ถ้าเราเจอคอร์ด Asus4 แล้วไม่รู้ว่า 
จับยังไงก็ให้จับคอร์ด A แทน เพราะมันเป็นคอร์ดในทางเมเจอร์
 และถ้าเจอคอร์ด Bm9 ก็อาจจะจับคอร์ด Bm แทนก็ได้ครับ 
เพราะมันเป็นคอร์ดในทางไมเนอร์ครับ
อย่างไรก็ตาม คอร์ดบางคอร์ดมีเสียงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
 ยากที่จะใช้คอร์ดหลักมาแทนได้ฉะนั้นผมอยาก 
ให้เพื่อนๆได้ลองศึกษาโครงสร้างของคอร์ดต่างๆดูบ้าง 
เพื่อที่จะได้เข้าใจความเป็นมาของแต่ละคอร์ดและจะได้ ไม่กลัวมันอีกต่อไป



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น