วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

คำศัพท์ดนตรีสากล (หมวดอักษร A)


A ( เอ ) ชื่อระดับเสียง เสียง A ( ลา ) ที่อยู่เหนือ C กลาง ( โด ) ซึ่งมีความถี่ 440 รอบต่อวินาที คือเสียงมาตรฐานสำหรับดนตรีและเครื่องดนตรี 
A battuta (It. อะบาตูตา ) 
ในจังหวะคงที่แน่นอน ให้กลับมาปฏิบัติในจังหวะคงที่ 
A ber (Gr. อะแบร์ ) 
แต่ 
A cappella (It. อะคาเปลลา ) 
เดิมหมายถึงเพลงโบสถ์ขับร้องหมู่สมัยโบราณซึ่งไม่ใช้เครื่องดนตรีคลอ ปัจจุบันหมายถึง เพลงขับร้องหมู่ที่ไม่ใช้เครื่องดนตรีคลอ เช่นเดียวกันโดยไม่จำกัดว่าจะเป็นเพลงโบสถ์หรือไม่ มาจากคำภาษาอิตาเลี่ยนมีความหมายว่า chapel ( หมายถึง โบสถ์ ) 
A capricio (It. อะ คาปริโซ ) 
ให้เล่นอย่างอิสระ อย่างเพ้อฝัน อย่างลวดลายซับซ้อน 
A tempo (It. อะ เทมโป ) 
ตามความเร็วเดิม ให้กลับไปที่อัตราความเร็วจังหวะปกติของเพลงนั้นหรือความเร็วเดิม 
A volonta (It. อะโวโลนตา ) 
ไม่เคร่งครัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้เล่น 
A volonte (Fr. อะโวลงเต้ ) 
ไม่เคร่งครัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้เล่น 
Accompaniment ( แอ็คคอมปานิเม้นท์ ) 
คือดนตรีคลอไปกับแนวทำนองที่เล่นโดยนักดนตรี หรือ ร้องโดยนักร้อง ดนตรีที่คลอนี้อาจใช้เปียโนหรือวง ออร์เคสตร้าหรือวงดนตรีประเภทอื่น ๆ ก็ได้ นอกจากนี้ยังหมายถึงดนตรีที่นักเปียโนใช้เล่นด้วยมือซ้าย ( ตามปกติ ) คลอประกอบทำนองที่เล่นด้วยมือขวา
bsolute music ( แอ็บสลูท มิวสิก ) 
ดนตรีที่แต่งขึ้นเพื่อลักษณะทางดนตรีอย่างเดียว โดยไม่ได้เล่าเรื่องราว รายการต่าง ๆ ฯลฯ เป็นคำตรงข้ามกับคำว่าโปรแกรมมิวสิก (program music) 
Abstract music ( แอ็บแทร็คมิวสิก ) 
ความหมายคล้ายกับแอ็บสลูท มิวสิก 
Accelerando (It. อัดเซเลรานโด ) 
เร็วขึ้น การเร่งหรือเพิ่มความเร็วขึ้นเรื่อย ๆ คำย่อคือ accel. 
Accent ( แอ็คเซ็นท ) 
การเน้นเสียง การย้ำ 
Acciaccatura (It. อัดชะคะตูรา ) 
การประดับประดาทางดนตรี เป็นโน้ตที่ปฏิบัติอย่างรวดเร็วก่อนหน้าโน้ตตัวหลักแต่ไม่นับค่าอัตราของตัวโน้ตนี้มักเล่นไปด้วยกันกับโน้ตตัวหลักดังกล่าวอัดชะคะตูรามาจากคำอิตาเลียนมีความหมายว่า บด กระแทก 
Accidental ( แอ็กซิเดนทัล ) 
การเปลี่ยนแปลงในลักษณะครึ่งเสียงโครมาติก (chromatic) ที่ไม่พบ ในเครื่องหมายตั้งบันไดเสียง 
Accordion ( แอ็กคอเดียน ) 
เครื่องดนตรีที่พกพาไปไหนมาไหนได้ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยถุง (bellows) สำหรับปั้มลมผ่านลิ้น (reeds) มีแผงคีย์บอร์ดตามลักษณะของเปียโน สำหรับการเล่นทำนองเพลง และปุ่มรูปกระดุมสำหรับการเล่นโน้ต เบส และคอร์ด มีลิ้น 2 ชุด ชนิดหนึ่งเล่นขณะที่ถุงลมถูกบังคับให้เปิด อีกชนิดหนึ่งเล่นเมื่อถุงลมถูกบังคับให้ปิด 
Acoustics ( อะคูสติก ) 
สวนศาสตร์ วิทยาศาสตร์แห่งเสียงหรือเสียงที่เกิดธรรมชาติโดยปราศจากไฟฟ้า วิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเสียง ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับการเกิดเสียง , การส่งผ่านของเสียง , การผันแปรของเสียงธรรมชาติทางวิทยาศาสตร์ของเสียงดนตรีและอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับเสียงและเสียงที่เกิดจากเครื่องดนตรี 
Adagio (It. อะดาจิโอ ) 
อย่างเชื่องช้าอย่างสบายอารมณ์ ช้ากว่าอันดานเต้แต่เร็วกว่าลาโก 
Ad libitum (L. แอ็ดลิบิตุม ) 
ตามใจผู้เล่น หมายความว่านักแสดงอาจจะปฏิบัติ ดังนี้ 
1. เปลี่ยนแปลงจังหวะ 
2. เพิ่มหรือลดแนวของการร้องหรือแนวของเครื่องดนตรีแนวใดแนวหนึ่งก็ได้ 
3. เพิ่มหรือลดข้อความทางดนตรี ซึ่งมักจะเป็นส่วนคาเดนซา (cadenza) 
4. เพิ่มส่วนคาเดนซา 
Adapted ( อะแด็ปท์ ) 
ดนตรีที่ดัดแปลงให้เข้ากับงานเช่นดนตรีที่เขียนสำหรับวงออร์เคสตร้านำมาเขียนเสียใหม่สำหรับเปียโน ดนตรี สำหรับเปียโนนำมาเขียนให้ไวโอลินเล่น หรือที่เขียนไว้สำหรับเครื่องดนตรีก็เขียนใหม่ให้คนร้อง ทั้งนี้ทำนองเพลงมิได้เปลี่ยนไป 
Adaptation ( อะแด็ปเตชั่น ) 
การเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ของบทประพันธ์เพลงมาตรฐานบทหนึ่ง 
Affabile (It. อะฟาบิเล ) 
ในลักษณะยินดี เต็มใจและงามสง่า 
Affettuosamente (It. อะเฟตตูโอซาเมนเต ) 
ด้วยความรัก ด้วยความถนุถนอม 
Affettuoso (It. อะเฟตตูโอโส ) 
ด้วยอารมณ์อบอุ่น รักใคร่ 
Affrettando (It. อัฟเฟร็ตตานโด ) 
เร็วขึ้น ตื่นเต้น 
Affrettoso (It. อัฟเฟร็ตโตโซ ) 
เร่งให้เร็วขึ้น 
Agevole (It. อะเจโวเล ) 
ตามสบาย ง่าย ๆ เรียบ ๆ 
Agilmente (It. อะจีลเมนเต ) 
อย่างปลอดโปร่ง มีชีวิตชีวา 
Agitato (It. อะกิตาโต ) 
ตื่นเต้น เร้าใจ เร่าร้อน 
Agrements (Fr. อะเกรมองต์ ) 
การประดับประดาทางดนตรี 
Aimable (Fr. เอมาเบลอ ) 
พอใจ 
Air ( แอร์ ) 
ทำนอง บทเพลงร้อง 

Aisement (Fr. เอซมอง ) 
ง่าย ๆ สบาย ๆ 
Alberti bass ( อัลแบร์ติ เบส ) 
รูปแบบการเดินแนวเบสจากโบรคเคนคอร์ด (broken chords) อัลแบร์ติเบส มาจาก ชื่อนักแต่งเพลงที่มีนามว่า ดอเมนิโก อัลแบร์ติ ( เกิดปี ค . ศ .1710) ซึ่งใช้รูปแบบการเดินเบสในบทเพลงโซนาตาของเขา 
Al fine (It. อัล ฟิเน ) 
ไปสู่ส่วนจบของเพลง 
Alla (It. อัลลา ) 
ไปยัง , ณ ที่ , ในลีลาของ .. , ตามแบบฉบับของ 
Alla breve (It. อัลลา เบรเว ) 
หมายถึงเครื่องหมายกำหนดจังหวะ g ; มีจังหวะนับสองจังหวะในแต่ละห้องโดยมีโน้ตตัวขาวนับเป็นหนึ่งจังหวะ อัลลา เบรเว 
Alla marcia (It. อัลลา มาร์เซีย ) 
ในแบบฉบับของเพลงเดินแถว 
Alla militare (It. อัลลา มิลิตาเร ) 
ในแบบฉบับของทหาร 
Allargando (It. อัลลาร์กานโด ) 
ช้าลงตามลำดับ กว้างขึ้น มักประกอบเข้ากับคำว่าเครเซนโด ( เสียงค่อย ๆ ดังขึ้น ) คำย่อคือ allarg 
Alla russa (It. อัลลา รูสซา ) 
ในแบบฉบับของรัสเซีย 
Alla turca (It. อัลลา ตูรกา ) 
ในแบบฉบับของชาวเตอร์ค ขบวนสุดท้ายของโซนาตาในคีย์เอ ( เคอเชิล 331) ของโมสาร์ท ซึ่งเขียนไว้ว่า "Alla turca" 
Alla zingara (It. อัลลา ซิงการา ) 
ในแบบฉบับของชาวยิบซี 
Allargando (It. อัลลาร์กานโด ) 
ช้าลงทีละน้อย 
Allegretto (It. อัลเลเกรทโต ) 
อย่างมีชีวิตชีวา เร็วกว่าอันดานเต แต่ช้ากว่าอัลเลโกร 

Allegrissimo (It. อัลเลกริสซิโม ) 
เร็วมาก 
Allegro (It. อัลเลโกร ) 
อย่างมีชีวิตชีวา กระฉับกระเฉง เร็วกว่าอัลเลเกรทโต แต่ช้ากว่าเพรสโต 
Allemande (Fr. อาลมานต์ ) 
(1) ในปลายศตวรรษที่ 16 เพลงเต้นรำเยอรมันในจังหวะประเภทนับสอง 
(2) ในปลายศตวรรษที่ 17 เพลงอาลมานต์ไม่ได้เป็นเพลงเต้นรำต่อไป แต่กลายเป็นส่วนหนึ่งของ เพลงประเภทสวีท (suite) ซึ่งอยู่ภายใต้เครื่องหมายกำหดจังหวะ o และมีส่วนยกของจังหวะสั้น ๆ ตามด้วยทำนองกระชั้นถี่ 
(3) ในปลายศตวรรษที่ 18 ทางตอนใต้ของประเทศเยอรมัน เพลงอาลมานด์นี้ ปรากฏคล้ายกับ เพลงเต้นรำวอลซ์ในจังหวะ k หรือ m 
Allmahlich (Ger.) 
ทีละน้อย 
Al segno (It. อัล เซนโย ) 
ไปที่เครื่องหมาย 
Al niente 
ลดลงจนไม่เหลือ 
Altissimo (It. อัลตีสซิโม ) 
สูงสุด 
Alto (It. อัลโต ) 
สูง 
1. เสียงร้องหญิงที่ต่ำกว่าโซปราโน . คอนทรัลโต 
2. แนวเสียงที่อยู่ถัดจากแนวสูงสุดในการร้องเพลงประสานเสียงสี่แนว ( โซปราโน , อัลโต , เทเนอร์และเบส ) 
3. เครื่องดนตรีที่อยู่ในแต่ละตระกูลได้แก่ อัลโตคลาริเนต , อัลโตฮอร์น , อัลโตแซกโซโฟน 
Alto clef (It. อัลโต เคลฟ ) 
กุญแจประจำหลัก C กลาง ( โด ) ที่ปรากฏอยู่บนเส้นที่สามของบรรทัดห้าเส้น โน้ตดนตรีสำหรับซอวิโอลา บันทึกอยู่ในกุญแจประจำหลักอัลโตเคลฟ 
Am (Gr. อัม ) 
บน โดย ใกล้ 
Am steg (Gr. อัมสเต็จ ) 
ปฏิบัติใกล้หย่อง 
Amabile (It. อะมาบิเล ) 
พึงใจ , นุ่มนวล , น่ารัก 
Amoroso (It. อะโมโลโซ ) 
มีเสน่ห์ 
An dem griffbrett ( อันเดมกริฟเบอร์เต้ ) 
ปฏิบัติใกล้ฟิงเกอร์บอร์ด (fingerboard) 
Ancora (It. อันโกรา ) 
อีกครั้งหนึ่ง 
Anacrusis ( อนาครูสิส ) 
จังหวะยก 
Ancora una volta (It. อันโกรา อูนา โวลตา ) 
อีกครั้งหนึ่ง 
Andantino (It. อันดานติโน ) 
ค่อนข้างช้า แต่ไม่ช้าเท่า andante 
Anadante (It. อันดานเต ) 
ความเร็วขนาดกำลังเดินไหลไปตามสบาย ช้ากว่าอัลเลเกรทโต แต่เร็วกว่าอะดาโจ 
Animato (It. อันนีมาโต ) 
ด้วยวิญญาณ เต็มไปด้วยพลัง 
Anime (Fr. อะนิเม ) 
ร่าเริง 
Anmutig (Gr. อันมูติก ) 
สง่างาม มีเสน่ห์ 
Anglaise (Fr. อองเกลซ ) 
เป็นเพลงเต้นรำฝรั่งเศส ที่มีพื้นฐานมาจากเพลงเต้นรำพื้นเมืองอังกฤษ นำไปใช้ในการเต้นรำปลายเท้า ( บัลเล่ต์ ) ของฝรั่งเศสเมื่อปลายศตวรรษที่ 17 และพบในบทเพลงสวีทที่แต่งราวศตวรรษที่ 18 
Ansioso (It. อันซิโอโซ ) 
ด้วยความกระวนกระวาย ความลังเล 

A piacere (It. อะปิอัดเชเร ) 
ตามสบายขึ้นอยู่กับผู้เล่น ใช้เหมือนคำ ad libitum 
Appassionata (It. อัพปาซิโยนาตา ) 
ด้วยความหลงใหล เสน่หา 
Appassionato (It. อัพปาซิโอนาโต ) 
ด้วยความรัก เสน่หา 
Appena (It. อาเปนา ) 
แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง 
Appoggiatura (It. อับปอจจะตูรา ) 
การประดับประดาทางดนตรี มาจากคำอิตาเลียนว่า appoggiare แปลว่า ต้องการโน้ตอื่น ซึ่งเป็นโน้ตเสียงใกล้ตัวมาเพิ่มให้เกิดความไพเราะขึ้น 
A quattro mani (It. อะ ควัตโตร มานิ ) 
สำหรับสี่มือ ( บรรเลง 2 คน ในเปียโนหลังเดียวกัน ) 
Arco (It. อาร์โค ) 
คันชักของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายอาร์โคใช้เมื่อต้องการให้โน้ตตัวต่อไปต้องใช้คันชักปฏิบัติหลังจากทำนองที่มีการใช้คำว่า pizzicato ( การดีด ) มาแล้ว 
Arditamente ( อาร์ดิเทเม็นเต ) 
อย่างกล้าหาญ 
Aria (It. อารียา ) 
เพลงร้องที่มีเครื่องดนตรีคลอประกอบซึ่งจะปรากฏในรูปการเล่นประดับ อย่างมากมายในโอเปรา (Operas) แคนตาตา (Cantatas) และ ออราทอริโอ (0ratorios) 
Arioso (It. อาริโยโซ ) 
เป็นทำนองไพเราะ 
Armonioso ( อาร์โมนิโอโซ ) 
อย่างกลมกลืน 
Arpeggiando (It. อาร์เปจจานโด ) 
เล่นในลักษณะกระจายคอร์ดแบบเครื่องดนตรีฮาร์ป 
Arpeggio (It. อาร์เพจจิโอ ) 
การกระจายคอร์ด มาจากคำอิตาเลียนว่า arpeggiare มีความหมายว่า ให้เล่นในลักษณะคล้ายฮาร์ป ( ใช้โน้ตลำดับที่ 1,3,5,8,5,3,1 ในคอร์ด ) 
Arrangement ( อะเร้นจ์เม้น ) 
การเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงดนตรี หรือการขับร้อง 
Arret ( อาเร้ท ) 
หยุด 
Ascap ( เอสเคพ ) 
ย่อมาจาก American society of composers, authors, and publishers ก่อตั้งในปี 1914 victor herbert เพื่อปกป้องลิขสิทธิ์ของนักแต่งเพลง , นักประพันธ์ , และผู้พิมพ์ มีสมาชิกเป็นนักแต่งเพลงและนักประพันธ์ประมาณ 3,000 คนและเป็นสำนักพิมพ์กว่า 400 แห่ง 
Assai (It. อะซาอี ) 
มาก allegro assai หมายถึง เร็วมาก 
Assez (Fr. อาเซ ) 
พอควร Assez vite หมายถึง เร็วพอควร ( เร็วกว่าปานกลางเล็กน้อย ค่อนข้างเร็ว ) 
Atonal ( เอโทนอล ) 
ระบบเสียงทางดนตรีที่มีเสียงหลัก 
Attacca (It. อัตคกา ) 
ต่อเนื่องไปโดยไม่หยุด ; ทันทีทันใด 
Au (Fr. โอ ) 
ไปยัง , ใน , ที่ , สำหรับ 
Au mouvement (Fr. โอมูเวอมอง ) 
กลับไปใช้ความเร็วเท่าเดิม 
Aubade ( โอบาด ) 
ดนตรียามรุ่งอรุณ มีลักษณะงดงามเงียบสงบเหมือนบรรยากาศในชนบทยามเช้า 
Aufhalten (Gr. เอาฟานเท็น ) 
ช้าลง 
Augmented intervals (It. อ็อกเมนเต็ด อินเทอร์เวิล ) 
ขั้นคู่เสียงที่เพิ่มเสียงโน้ตตัวที่ห้าขึ้นครึ่งเสียง (1,3,5#) 
Augmentation ( อ็อคเมนเทชั่น ) 
การขยายอัตราจังหวะตัวโน้ต ของโมทีฟ ให้มีอัตราจังหวะยาวกว่าเดิม 
Augmentation dot ( อ็อคเมนเทชั่น ด็อด ) 
จุดที่เขียนไว้หลังตัวโน้ต เพื่อยืดอัตราจังหวะของตัวโน้ต ให้ยาวขึ้นครึ่งหนึ่งของค่าตัวโน้ตนั้น 
Aumentando (It. เอาเมนทานโด ) 
หมายถึง Crescendo ; ดังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ 
Ausdruck (Gr. เอาส์ดรูกค์ ) 
ความรู้สึก 
Ausdruckvol (Gr. เอาส์ดรูกคโวล์ ) 
เต็มไปด้วยความรู้สึก 
Autoharp ( ออโตฮาร์ป ) 
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายซึ่งเล่นเสียงคอร์ดได้โดยวิธีกดปุ่มกระดุมเพื่อให้เกิดเสียงจากสายที่ต้องการได้ 
Authentic cadence ( ออเทนติก เคเดนซ์ ) 
ลูกจบสมบูรณ์ 
Avec (Fr. อะเว็ค ) 
ด้วย Avec ame หมายถึง ด้วยวิญญาณ 
Ave maria ( อาเวมาเรีย ) 
บทเพลงสรรเสริญพระนางพรหมจารี มาเรีย ที่เด่นมากคืออาเว มาเรีย โดย ชูเบิร์ต และ กูโนด์ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น