วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

คำศัพท์ดนตรีสากล (หมวดอักษร D)


D 
ชื่อระดับเสียง ( เร ) 
Da, dal, dallo, dalla (It. ดา , ดัล , ดัลโล , ดัลลา ) 
จาก , ที่ , โดย , ไปยัง , สำหรับ , เหมือน 
Da capo (It. ดา คาโป ) 
จากจุดเริ่มต้น คำย่อคือ D.C. 
D.C. al Fine 
หมายถึง ให้กลับไปใหม่ที่จุดเริ่มต้น และเล่นจนถึงคำว่า Fine 
D.C. al Segno 
หมายถึง ให้กลับใหม่ที่จุดเริ่มต้น และเล่นจนถึงเครื่องหมาย Segno 
Dal segno (It. ดาล เซคโน ) 
ย้อนกลับจากเครื่องหมาย segno คำย่อคือ D.S. 
D.S. al Fine 
หมายถึง ให้กลับไปใหม่ที่เครื่องหมาย D.S. แล้วเล่นจนถึงคำว่า Fine( ฟิเน่ ) 
Dampfer ( แดมพ์เฟอร์ ) 
เครื่องลดความดังของเสียง 
Dans (Fr. ด็อง ) 
ใน , ภายใน 
Debut (Fr. เดบู ) 
การปรากฏตัวครั้งแรกต่อสาธารณะชน การบรรเลงครั้งแรก 
Decibel ( เดซิเบล ) 
หน่วยวัดความดังของเสียง คำย่อคือ db. 
Decide (Fr. เดซีเด ) 
แน่นอน , ตัดสินใจแล้ว 
Deciso (It. เดซีโซ ) 
กล้าหาญ มั่นใจเต็มที่ ตัดสินใจเด็ดขาด เต็มไปด้วยพลัง 
Decrescendo (It. ดีเครเชนโด ) 
เบาลงทีละน้อย ๆ คำย่อคือ decresc. 
Degree ( ดีกรี ) 
ระดับขั้นของโน้ตในสเกล เช่นโน้ต D เป็นระดับขั้นที่สองของบันไดเสียง C เมเจอร์ 
Dehors (Fr. เดท์ออร์ ) 
ด้วยการย้ำอย่างหนักแน่น ทำให้เด่นออกมา 
Delicato (It. เดลิคาโต ) 
ด้วยท่าทางอันเรียบร้อยและละเอียดอ่อน 
Demi (Fr. เดมิ ) 
ครึ่ง 
Demisemiquaver ( เดมิเซมิเควเวอร์ ) 
โน้ตตัวเขบ็ตสามชั้น 
Desto (It. เดสโต ) 
สดชื่นมีชีวิตชีวา 
Detache (Fr. เดตาเซ ) 
ซึ่งแยกออกจากกัน 
Deutlich (Gr. ดอยทริชค์ ) 
ใส , เด่น 
Di (It. ดิ ) 
ไปยัง , โดย , ของ , สำหรับ , กับ 
Di molto (It. ดิ มอลโต ) 
อย่างมาก 
Diatonic ( เดียอาโทนิก ) 
1. หมายถึงเสียงที่เกิดขึ้นในบันไดเสียงเมเจอร์หรือไมเนอร์ 
2. การเคลื่อนไปในลักษณะครึ่งเสียงแบบไดอาโทนิกหมายถึงการเคลื่อนที่ ไปยังโน้ตใกล้เคียงกันโดยมีชื่อโน้ตต่างกันขณะที่การเคลื่อนไปในลักษณะครึ่งเสียงแบบโครมาติกจะเป็นการเคลื่อนที่ไปที่โน้ตชื่อเดียวกันเพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลงด้วยเครื่องหมายแปลงเสียง 
Diminished ( ดิมินิชท์ ) 
รูปแบบของคอร์ดที่ประกอบด้วยโน้ตลำดับที่ 1 3b 5b ( C Eb Gb) 
Diminuendo (It. ดิมินูเอนโด ) 
เบาลงเรื่อย ๆ คำย่อคือ dim, dimin. 
Diminution ( ดิมินูชั่น ) 
การย่อ การแสดงโมทีฟโดยตัวโน้ตที่มีอัตราจังหวะสั้นกว่าตัวโน้ตเดิมในโมทีฟนั้น ๆ 
Dissonance ( ดิสโซแนนซ์ ) 
เสียงกระด้างขั้นคู่เสียงหรือคอร์ดที่ฟังแล้วไม่รู้สึกผ่อนคลายและจำเป็นจะต้องเคลื่อนเข้าหาขั้นคู่เสียงหรือคอร์ดที่มีเสียงสบายกว่าหรือเสียงที่กลมกล่อมกว่าการเคลื่อนที่จากเสียงกระด้างไปหาเสียงกลมกล่อมนี้เรียกว่า " การเกลา " ขั้นคู่เสียงกระด้างได้แก่คู่สอง คู่เจ็ด และสำหรับคอร์ด คือ อ็อกเมนเต็ด และดิมินิชท์ทุกคอร์ด 
Distinto ( ดิสทินโต ) 
ชัดเจน 
Divertimento (It. ดิเวอร์ติเมนโต ) 
คีตลักษณ์คล้ายแบบของสวีทและซิมโฟนีปกติประกอบด้วยเพลงเต้นรำและท่อนเพลงสั้น ๆ บรรเลงโดยวงดนตรีขนาดเล็ก 
Divisi (It. ดิวิซิ ) 
แบ่งแยกออกจากกันใช้ในบทเพลงสำหรับบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีเพื่อบ่งชี้ว่าให้นักดนตรีซึ่งมีอยู่มากมายนั้นแยกกันเล่นโน้ตในคอร์ดนั้น ๆ คำย่อคือ div. 
Dolce (It. ดอลเช ) 
อ่อนหวานนุ่มนวล 
Dolente (lt. ดอลเลนเต ) 
เศร้าสร้อย หงอยเหงา 
Dolore (lt. โดโรเร ) 
เศร้า เจ็บปวด เสียใจ 
Dominant ( ดอมิแนนท์ ) 
ขั้นที่ห้าของบันไดเสียงเมเจอร์และไมเนอร์ คอร์ดดอมิแนนท์ก็คือทรัยแอดที่สร้างบนโน้ตเสียงนี้ 
Dominant seventh ( ดอมิแนนท์ เซเวนท์ ) 
คอร์ดดอมิแนนท์ที่เพิ่มโน้ตตัวที่ 7 ของบันไดเสียงเข้าไป เช่น G7 ( G B D F) 
Doppio (It. ดอปปิโอ ) 
มากกว่าเป็นสองเท่า 
Doppio movimento (It. ดอปปิโอ โมวิเม็นโต ) 
เร็วขึ้นเป็นสองเท่า 
Doppio piu lento (It. ดอปปิโอ ปิว เล็นโต ) 
ช้าลงเป็นสองเท่า 
Doroloso (It. ดอลโลโรโซ ) 
เศร้า , เซื่องซึม 
Dorian mode ( โดเรียน โมด ) 
โมดโดเรียน โมดที่ใช้ในเพลงโบสถ์ยุคกลาง ซึ่งอาจสร้างโดยการเล่นจาก D ไป D บนคีย์ขาวของเปียโน 
Dot ( ด๊อท ) 
จุด 1. จุดที่อยู่หลังตัวโน้ตนั้นย่อมเพิ่มความยาวเสียงอีกครึ่งหนึ่งของโน้ตตัวนั้นดัง 2. จุดที่อยู่เหนือหรือใต้ตัวโน้ตโด หมายถึง ให้เล่นแบบสตั้กคาโต 
Double bar ( ดับเบิล บาร์ ) 
1. ปรากฏในส่วนจบของบทเพลงตอนหนึ่ง ( ยังไม่จบเพลงทั้งหมด ) 
2. ปรากฏในส่วนจบของบทเพลงนั้นหรือท่อนของบทเพลงนั้นโดยสมบูรณ์ไม่มีต่ออีกแล้ว 
Double bass ( ดับเบิลเบส ) 
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 
Double bassoon ( ดับเบิลบาสซูน ) 
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้ที่ใช้ลิ้นคู่ ที่มีระดับเสียงต่ำ 
Double flat ( ดับเบิลแฟล็ท ) 
เครื่องหมายดับเบิลแฟล็ทจัดวางไว้ข้างหน้าโน้ตเพื่อทำให้โน้ตนั้นมีเสียงต่ำลงหนึ่งเสียงเต็ม 
Double period ( ดับเบิลพีเรียด ) 
ประโยคใหญ่คู่ประโยคใหญ่สองประโยคที่ประกอบกันอย่างสมดุลโดยแบ่งแยกกันด้วยลูกจบกลาง 
Double sharp ( ดับเบิลชาร์ป ) 
เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์จัดวางไว้หน้าตัวโน้ตเพื่อทำให้ระดับเสียงของตัวโน้ตสูงขึ้นหนึ่งเสียง 
Doubling ( ดับบลิ้ง ) 
การซ้ำโน้ตการจัดให้เสียงในคอร์ดเสียงเดียวกันอยู่ในแนวเสียงมากกว่าหนึ่งแนว 
Douce(ment) (Fr. ดูส์มาน ) 
อย่างอ่อนหวาน 
Downbeat ( ดาวน์บีท ) 
หมายถึงจังหวะตกที่จังหวะแรกของห้องปกติมักให้เน้น ในการอำนวยเพลงนั้นจังหวะตกเกิดขึ้นจากการใช้สัญญาณตวัดมือลง 
Drangend (Gr. เดรนเกนด์ ) 
เร็วขึ้น 
Drone ( โดรน ) 
1. ชื่อท่อเสียงที่ติดกับเครื่องดนตรีประเภทปี่สก๊อต แต่ละท่อจะทำเสียงได้หนึ่งเสียงเป็นเสียงยาวต่อเนื่องกัน 
2. การซ้ำและยาวต่อเนื่องกันของเสียงเบส เหมือนเสียงโดรน ( หรือเรียกว่า " เสียงเสพ " คือเสียงหลักที่ลากยาวอย่างต่อเนื่องจากการเป่าแคน ) ที่เกิดขึ้นตามข้อ 1 เราเรียกว่า โดรนเบส 
Druckend (Gr. ดรุคเคนด์ ) 
หนัก เน้น 
Drum ( ดรัม ) 
กลองเป็นเครื่องดนตรีประเภทตีกระทบชนิดหนึ่ง 
1. สะแนร์ดรัม หรือกลองเล็ก ประกอบด้วยแผงลวดขึงรัดผ่านผิวหน้ากลองด้านล่าง เพื่อให้เกิดเสียงกรอบ ๆ ดังแต๊ก ๆ ตัวกลองทำด้วยไม้หรือโลหะและสามารถรัดให้หนังตึงด้วยขอบไม้ด้านบนและล่างสามารถปลดสายสะแนร์เพื่อให้เกิดเสียงทุ้มดังตุ้มตุ้มได้และตีกลองเล็กด้วยไม้นิยมใช้กลองชนิดนี้ทั้งในวงดุริยางค์และวงดนตรี 
2. เทเนอร์ดรัมมีขนาดใหญ่กว่าสะแนร์ดรัมเป็นกลองชนิดที่สร้างขึ้นโดยไม่ใช้สายสะแนร์โดยทั่วไปบรรเลงในหมวดกลองไม้ที่ใช้ตีก็เป็นชนิดหัวไม้หุ้มสักหลาด 
3. กลองใหญ่เป็นกลองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดประกอบด้วยตัวกลองที่ทำด้วยไม้และมีหนังกลองทั้งสองด้านเสียงที่เกิดจากการตีกลองใหญ่จะไม่ตรงกับระดับเสียงที่กำหนดไว้ทางตัวโน้ตตีด้วยไม้ที่มีสักหลาดหุ้มชนิดที่มีหัวที่ปลายทั้งสองข้างใช้เพื่อทำเสียงรัว 
4. กลองทิมปานี ( หรือกลองเค็ทเทิ้ลดรัม ) เป็นกลองที่มีลักษณะเป็นหม้อกระทะซึ่งมีหน้าหนังกลองหุ้มทับอยู่ด้านบนเป็นกลองชนิดเดียวที่ขึ้นเสียงแล้วได้ระดับเสียงที่แน่นอนเมื่อคลายหรือขันหน้ากลองโดยไม่ว่าจะใช้วิธีขันสกรูหรือเหยียบเพดดัล ( ที่เหยียบ ) ไม้ที่ใช้ตีก็มีการหุ้มนวมตรงหัวไม้ตี ตีได้ทั้งเป็นจังหวะและรัว 
Duet ( ดูเอ็ด ) 
บทประพันธ์สำหรับผู้เล่นสองคน 
Dulcimer ( ดัลซิเมอร์ ) 
ขิมฝรั่งเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายในยุคต้นที่ตีด้วยไม้ตีขิมเล็ก ๆ สองอัน 
Duo ( ดูโอ ) 
คู่หนึ่งหมายถึง duet 
Duple time ( ดูเพิ้ลไทม์ ) 
เครื่องหมายกำหนดจังหวะประเภทนับสองจังหวะในหนึ่งห้อง 
Dynamic mark ( ไดนามิก มาร์ค ) 
สัญลักษณ์และคำที่บ่งชี้ถึงความดังและความเบาของดนตรี เช่น เครเชนโด เดเครเชนโด p. f. ฯลฯ

คำศัพท์ดนตรีสากล (หมวดอักษร C)


C 
ชื่อระดับเสียง ( โด ) 
Cadence ( เคเดนซ์ ) 
คอร์ดที่อยู่ติดกันในส่วนจบของวลีเพลงท่อนลีลาหรือบทเพื่อสรุปถึงความคิดทางดนตรีมีเคเดนซ์อยู่หลายแบบ คือ 
1. เพอเฟกต์เคเดนซ์จะทำให้บทประพันธ์ทางดนตรีจบลงได้อย่างน่าพอใจเมื่อตัวโทนิค (Tonic) อยู่ที่แนวบนสุดของคอร์ดสุดท้าย 
2. อิมเพอเฟกต์หรือฮาล์ฟเคเดนซ์ เมื่อใช้คอร์ดที่ห้า ( V ) ตามหลังคอร์ดที่หนึ่ง ( I ) 
3. ดีเซฟทีฟว์หรืออินเตอร์รัฟท์เต็ดเคเดนซ์การต่อเนื่องของคอร์ดที่หก ( ที่เราไม่เคยคิดมาก่อน ) ใน เคเดนซ์ 
Cadenza (It. คาเดนซา ) 
แนวทำนองอันสดใสรื่นเริงโอ่อวดฝีมือมักพบในส่วนจบของการร้องเดี่ยวหรือแสดงเครื่องดนตรีเดี่ยวในบทเพลงประเภทคอนแชร์โต้
Calando (It. คาลานโด ) 
เบาลงและช้าลงเรื่อย ๆ 
Calcando (It. คาลคานโด ) 
เร็วขึ้นมาจากคำอิตาเลียนมีความหมายว่า เดินเท้าเสียงดัง 
Calma, calmo ( คาลมา ) 
อย่างสงบ 
Calmando (It. คาลมานโด ) 
เบาลงเรื่อย ๆ อย่างสงบเยือกเย็น 
Calmato (It. คาลมาโต ) 
อย่างสันติสุขอย่างสงบ 
Calore (It. คาลโลเร ) 
ด้วยความรักใคร่อบอุ่น 
Campana (It. คัมปานา ) 
ระฆัง 
Campanella (It. คัมปาเนลลา ) 
ระฆังเล็ก ๆ 
Canon ( แคนนอน ) 
คีตลักษณ์ชนิดหนึ่งที่มีแบบแผนแน่นอนไม่ว่าจะเป็นแนวบรรเลงหรือแนวขับร้องจะมีทำนองเหมือนกันหมดเพียงแต่เริ่มในเวลาต่างกันเท่านั้นเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ราวน์ด (Round) 
Cantabile (It. คันตาบิเล ) 
ในลักษณะเพลงร้องมาจากคำอิตาเลียนว่า คันตาเร (Cantare) ซึ่งมีความหมายว่าการร้องเพลง 
Cantata (It. คันตาตา ) 
ผลงานดนตรีประเภทขับร้องในสมัยบาโรคที่ประกอบด้วยบทเพลงต่าง ๆ เช่น อาร์เรีย , เรสซิเททิฟว์ , 
ดูเอทและคอรัสโดยอิงเรื่องราวทางศาสนาบทกวีและการละครคำนี้มาจากภาษาอิตาเลียนว่า Cantare มีความหมายว่า 
ร้องเพลงโยฮัน เซบาสเตียนบาคได้แต่งเพลงแนวทางศาสนา ( เชิร์ช คันตาตา ) เกือบสามร้อยบท 
Cantilena (It. คันติเลนา ) 
ทำนองเพลงที่มีลักษณะไหลเลื่อนต่อเนื่องกันไปด้วยการบรรเลงหรือร้องอย่างราบรื่น 
Canto ( แคนโต ) 
แนวหรือเสียง 
Cantus firmus (La. คันตุส เฟียร์มุส ) 
เป็นแนวทำนองหลัก เพื่อให้แนวทำนองอื่น ๆ เพิ่มเข้าไปโดยมีกฎเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ 
Capella ( คาเพลลา ) 
ไม่ใช้เครื่องดนตรีบรรเลงคลอ 
Capo (It, คาโป ) 
การเริ่มต้น 
Da capo 
หมายถึง จากที่เริ่มต้น คำย่อคือ D. C. 
Da capo aI fine 
หมายถึง จากที่เริ่มต้นจนถึงที่จบ 
Da capo al segno 
หมายถึง จากที่เริ่มต้นจนถึงเครื่องหมาย segno 
Capriccio (It. คาปริโซ ), caprice (Fr.) 
บทบรรเลงสำหรับเครื่องดนตรีที่มีลักษณะอิสระ ไม่อยู่ในกฎเกณฑ์ มักมีชีวิตชีวา 
Capriccioso (It. คาปริซิโอโซ ) 
สนุกสนานร่าเริง 
Carillon ( คาริลลอน ) 
ระฆังชุดที่มีเสียงครบแบบโครมาติก สามารถทำให้เกิดเสียงด้วยวิธีเช่นเดียวกับ คีย์บอร์ด หรือจากระบบการทำงานแบบนาฬิกา มักนิยมแขวนบนหอสูงในโบสถ์ หรือหอระฆังเฉพาะ มีช่วงเสียง 2 ถึง 4 อ๊อคเทฟ (Octave) ชุดระฆังชนิดใหญ่มีจำนวนระฆังมาก ถึง 70 ใบ 

Carol ( แครอล ) 
เป็นเพลงแบบประเพณีนิยม ที่มักได้ยินในเทศกาลคริสต์มาสและเทศกาลอีสเตอร์ 

คำศัพท์ดนตรีสากล (หมวดอักษร B)


B 
ชื่อระดับเสียง ( ที ) 
Bach บาค 
ผู้ประพันธ์ชาวเยอรมัน (1685-1750) สมัยบาโรค 
Background ( แบ็คกราวด์ ) 
ดนตรีประกอบภาพยนตร์ , รายการวิทยุ , รายการโทรทัศน์ ฯลฯ เพื่อโน้มน้าวใจคนช่วยให้เรื่องราวสมจริง สมจัง หรือเพื่อเพิ่มความเพลิดเพลินแก่ผู้ชมและผู้ฟัง 
Bagatelle (Fr. บากาเตล ) 
บทเพลงเล็ก ๆ สั้น ๆ สำหรับเปียโน (e.g. Fur Elise). 
Bagpipe ( แบกไปป์ ) 
เครื่องดนตรีโบราณประเภทเครื่องลม ( ที่เราเรียกว่าปี่สก๊อต ) ผู้เล่นจะเป่าลมเข้าไปตามท่อจนถึงถุงลม ลมจะไปสั่นสะเทือนลิ้นของปี่ท่อลมอันหนึ่งเรียกชานเทอร์ซึ่งมีรูปิดเปิดได้มีไว้สำหรับเล่นทำนองเพลงท่อลมอื่น ๆ เรียกโดรนทำเสียงต่อเนื่องกันไปเครื่องดนตรีนี้มีรูปแบบมากมายพบได้ในหลายส่วนของโลก 
Ballad ( แบลลัด ) 
หมายถึงเพลง คำว่า " แบลลัด " มาจากภาษาลาติน ballare หมายถึง " เต้นรำ " เดิมคำนี้เป็นเพลงร้องสำหรับเต้นรำเพลงหนึ่ง ต่อมาได้กลายเป็นเพลงขับร้องเดี่ยว และมักจะเป็นการเล่าเรื่องราวต่าง ๆ 
Ballade (Fr. บาหลัด ) 
1. คีตลักษณ์ของบทกวีและดนตรียอดนิยมในยุคกลาง ขับร้องโดยพวกคีตกวีซึ่งชาว ฝรั่งเศส เรียก ว่า trouveres ( ทรูแวร์ ) 
2. บทเพลงสำหรับเปียโน ที่แต่งในลักษณะโรแมนติกและรูปแบบกวีนิพนธ์ที่มีความอิสระในยุค ศตวรรษที่ 19 
Ballet (Fr. บัลเล่ต์ ) 
ระบำปลายเท้า คือการแสดงการเต้นรำที่มีแบบฉบับในลักษณะการเต้นเป็นกลุ่ม มีเครื่องแต่งกาย ฉากและดนตรีประกอบ มีทั้งการกำหนดท่าทางการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสมบูรณ์ จนกระทั่ง เกิดเทคนิคพื้นฐานของบัลเล่ต์มักใช้เพื่อคั่นรายการแสดงโอเปรา ซึ่งส่วนมากแล้วจะไม่เป็นส่วน หนึ่งในโอเปราที่แสดงในคราวเดียวกันนั้น 
Band ( แบนด์ ) 
กลุ่มนักแสดงดนตรี รวมกันเป็นวงดนตรี 
Banjo ( แบนโจ ) 
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ประกอบด้วยขีดแบ่งเสียงที่เรียกว่า เฟร็ต ( ขีดแบ่งเส้น เครื่องสายไทยใช้คำว่า '' นม '') ในตระกูลพวกกีตาร์แบนโจจะมีส่วนช่วงคอยาว ปกติมี 5 สาย เพื่อใช้สำหรับเล่นแบบสตรัม ( ทำเสียงคอร์ดเป็นจังหวะต่าง ๆ ) ด้วยนิ้วมือของผู้เล่น ช่วงลำตัวมีรูปร่างคล้ายกลองแทมโบรีนซึ่งส่วนหลังเปิดไว้ 
Bar ( บาร์ ) 
1. การกำหนดระยะของจังหวะทางดนตรี 
2. คำที่ใช้สำหรับการกั้นห้อง 
Bar line ( บาร์ ไลน์ ) 
เส้นกั้นห้อง เส้นแนวตั้งที่แบ่งโน้ตเพลงออกเป็นห้อง , เส้นแบ่งทางแนวตั้งเพื่อกำหนดจำนวนจังหวะทางดนตรี 
Barcarole ( บาร์คะโรล ) 
1. บทเพลงร้องของชาวเรือกอนดะเลียร์เมืองเวนิส มาจากภาษาอิตาเลียนว่า barca ซึ่งหมายถึง " เรือ " 
2. บาร์คะโรลอยู่ในจังหวะ u และ 12/8 มีแนวคลอประกอบซึ่งเลียนเสียงการโยกของเรือด้วย 
Baritone ( บาริโทน ) 
1. ระดับเสียงร้องของนักร้องชายที่ต่ำกว่าเทเนอร์ แต่สูงกว่าเบส มาจากคำในภาษากรีก ว่า barys ซึ่งมีความหมายว่า " หนัก " หรือ " ต่ำ " 
2. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทองเหลือง 
Baroque ( บาโรค ) 
ผลงานดนตรีในช่วงระยะเวลาจาก ค . ศ . 1600-1750 โดยนับเริ่มจากการ กำเนิดโอเปราและเพลงร้องประเภทออราทอริโอ ( ของ Monteverdi และ Schutz) และถึงจุดสุดยอดในช่วงผลงานดนตรีของ Bach และ Handel 
Bass ( เบส ) 
1. ช่วงเสียงร้องต่ำสุดของนักร้องชาย 
2. แนวบรรเลงที่อยู่ต่ำสุดของบทประพันธ์เพลง มาจากคำภาษากรีกว่า basis มีความหมายว่า พื้นฐาน 
3. สมาชิกในตระกูลเครื่องดนตรีต่าง ๆ เช่น เบสคลาริเนต เบสดรัม และ เบสวิโอล ฯลฯ 
Bass clef ( เบสเคลฟ ) 
หมายถึงเครื่องหมายกุญแจประจำหลักที่อยู่บนเส้นที่ 4 ของบรรทัดห้าเส้น เบสเคลฟที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้พัฒนารูปร่างมาจากอักษร F 
Basso ( บาสโซ It., 'bass') 
1. ต่ำ เบส 
2. เสียงร้องแนวเบส 
Basso buffo (It. บาสโซบูโฟ ) 
นักร้องระดับเสียงต่ำ ซึ่งแสดงเป็นตัวตลก 
Bassoon ( บาสซูน ) 
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้เป็นปี่ที่มีลิ้นคู่เรียกว่าปี่บาสซูน มีเสียงต่ำเป็น เบสในตระกูลปี่โอโบ มีการม้วนท่อเป่าทบย้อนลำตัวของปี่เพื่อลดขนาดความยาวให้ สั้นลงเหลือเเค่ขนาดประมาณ 4 ฟุตเล็กน้อย ช่วงเสียงแต่ละช่วงจะมีคุณภาพเสียงปี่ 
Basso ostinato (It. บาสโซ ออสซินาโต ) 
วลีเพลงสั้น ๆ ขนาด 4-8 ห้องซึ่งจะซ้ำแล้วซ้ำเล่าและจัดไว้เป็นแนวเสียงต่ำบาสโซออสซินาโตเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากราวด์เบสเพราะทำหน้าที่เป็นฉากหลังหรือคลอประกอบสำหรับแนวทำนองเพลง 
Baton (Fr. บาตอง ) 
ไม้ถือสำหรับผู้อำนวยเพลงใช้เพื่อควบคุมจังหวะบาตองอาจจะทำจากไม้ก้านเรียวหรือไม้ที่มีน้ำหนักเบาหรือวัสดุเบาก็ได้ 
Battuta (It. บัตตูตา ) 
จังหวะ 
Beat ( บีท ) 
จังหวะเคาะหรือนับของห้องแต่ละห้อง เช่น o ประกอบด้วย 4 จังหวะ หรือการนับได้สี่ครั้งในหนึ่งห้อง h ประกอบด้วย 2 จังหวะ หรือการนับได้สองครั้งในหนึ่งห้อง 
Beaucoup (Fr. โบกู ) 
มาก 
Beam ( บีม ) 
เส้นรวบหาง เส้นทึบแนวนอนใช้ในการรวมกลุ่มตัวโน้ต ที่มีอัตราจังหวะน้อยกว่าโน้ตตัวดำ 
Bebop ( บีบ๊อบ ) 
ดนตรีแจ๊สชนิดหนึ่ง 
Behaglich (Gr. เบฮากลิชค์ ) 
ไม่เร่งรีบ สบาย ๆ 
Bei (Gr. ไบ ) 
กับ , ที่ , สำหรับ 
Beide hande ( ไบแฮนด์ ) 
ใช้มือทั้งสองข้าง 
Belebt (Gr. เบเลบท์ ) 
มีชีวิตชีวา ร่าเริง 
Bell ( เบลล์ ) 
1. เครื่องดนตรี ประเภทเครื่องตีกระทบ มีรูปร่างเป็นรูปทรงระฆัง มีระดับ เสียงแน่นอน 
2. ลำโพง ส่วนประกอบตัวเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลม ที่มีลักษณะบานออกคล้ายระฆัง bel lyre ( เบลล์ ไลร่า ) 
Ben ( เบน ) 
มาก 
Berceuse (Fr. แบร์เซิล , 'bercer' to rock) 
เพลงกล่อมเด็ก ซึ่งมักจะอยู่ในจังหวะ u ประกอบด้วยแนวคลอประสานที่มีลักษณะคล้ายการไกวเปล 
Ben, bene (It. เบน , เบนเน ) 
มาก , ดี , Ben marcato หมายถึง กำหนดชัดเจน 

Bergamasque (Fr.), bergamasca (It. แบร์กามาสคา ), bergomask ( Eng. ) 
1. การเต้นรำบางครั้งก็มีคำร้องด้วยนิยมเล่นกันในสมัยศตวรรษที่ 16 และ 17 ในหมู่ชาวนา เมืองแบร์กาโมประเทศอิตาลี ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการเต้นรำชนิดนี้ 
2. การเต้นรำแบร์กามาสคาในศตวรรษที่ 19 มีจังหวะ u เหมือนกับตารันเตลลา 
Beruhigend (Gr. เบรูฮิเก็นด์ ) 
สงบ 
Bestimmt ( เบสติมท์ ) 
แน่นอน 
Bewegter (Gr. เบเว็กแตร์ ) 
เร็วขึ้น มีชีวิตชีวาขึ้น 
Bien (Fr. เบียง ) 
มาก 
Binary ( ไบนารี่ ) 
สองส่วนคีตลักษณ์แบบไบนารี่ฟอร์มประกอบด้วยสองส่วนแต่ละส่วนก็มีการย้อนบรรเลงด้วย Binary form ( ไบนารี ฟอร์ม ) โครงสร้างแบบสองส่วนบทประพันธ์ที่มีส่วนประกอบสองส่วน 
Bis (Gr. บิส ) 
จนกระทั่ง , จนถึง 
Bis zu ende(Gr. บิส ซู เอนเด ) 
จนจบ 
Blues ( บลูส์ ) 
คำว่า " บลูส์ " มีหลายความหมาย ดังนี้ 
1. ความเศร้า ความเหงา หรือเพลงที่มีจุดประสงค์เพื่อให้ฟังแล้วมีความรู้สึกเศร้า 
2. เป็นลำเนาแห่งบทกวี 
3. เป็นเพลงที่มีจังหวะช้า ฟังแล้วหดหู่ เพลงแบบหยาบ ๆ 
4. มีรูปแบบเฉพาะของทางคอร์ดมักดำเนินไปรวม 12 ห้อง ซึ่งเดาทางคอร์ดล่วงหน้าได้ ที่ห้องที่ห้า ห้องที่เจ็ด ห้องที่เก้า และห้องที่สิบเอ็ด 
Bolero (Sp. โบเลโร ) 
การเต้นรำที่มีชีวิตชีวาของสเปนในจังหวะ k การเต้นรำแบบโบเลโรประกอบด้วยการเคลื่อนเท้าที่สลับซับซ้อนอีกทั้งผู้เต้นจะถือเครื่องดนตรีประเภทให้จังหวะคือคาสทะเน็ตส์เชื่อกันว่าผู้คิดท่าเต้น แบบนี้ คือ Cerezo of Cadiz ชาวสเปนในราว ค . ศ . 1780 
Bore ( บอร์ ) 
ส่วนกว้างภายในท่อของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ 
1. conical bore ( โคนิคัล บอร์ ) ส่วนกว้างของท่อจากปากเป่าถึงปากลำโพง มีการขยายบาน ออกที่ละเล็กละน้อยแบบต่อเนื่องเป็นรูปทรงกรวยเช่นเครื่องดนตรีประเภทแตรคอร์เน็ตแตรบาริโทน 
2. cylindrical bore ( ซิลินดริคคัล บอร์ ) ความกว้างของท่อที่มีขนาดเท่ากันตลอดลำตัวเครื่อง ดนตรียกเว้นส่วนใกล้ลำโพงที่จะขยายบานออก เช่น แตรทรัมเป็ต แตรทรอมโบน ฯลฯ 
Bouche ( โบเช่ ) 
การกักเสียงของ horn โดยใช้มือสอดเข้าไปในลำโพงทำให้เสียงลอดออกมาลำบากยิ่งขึ้น 
Bouffe (Fr. บูฟ ) 
ตลกขบขัน 
Bourdon (Fr. บูร์ดอง ) 
1. เสียงดนตรีที่ลากยาวมีเสียงต่ำ หรือเสียงซ้ำ ๆ กันของแนวเบส เหมือนอย่างโดรน ของเครื่อง ดนตรีประเภทปี่สก็อต 2. เสียงต่ำลึก ๆ จากท่อขนาดความยาว 16 หรือ 32 ที่เล่นโดยออร์แกน 
Bourree (Fr. บูเร ) 
เพลงเต้นรำซึ่งมีรากฐานมาจากประเทศฝรั่งเศสมีความรวดเร็วในจังหวะประเภทนับสอง ( ห้องละ 2 จังหวะ ) ส่วนเริ่มต้นเพลงจะเป็นจังหวะยก นิยมเล่นกันในประเทศฝรั่งเศสใน ศตวรรษที่ 17 เดิมเป็นเพลงเต้นรำของชาวนา ต่อมาบางครั้งก็มีปรากฏในบทเพลงประเภท สวีท 
Bow ( โบ ) 
หมายถึง คันชัก เป็นเครื่องมือสำคัญของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายตระกูลไวโอลินและวิโอล ใช้สีบนเส้นสายเสียงให้เกิดการสั่นไหวตรงส่วนจับของคันชักด้านในจะมีแส้ม้าที่สำหรับปรับไขได้ เรียกว่านัท มีหน้าที่ดึงส่วนที่เรียกว่าฟร็อกซึ่งทำให้แส้ม้าตึงได้การถูยางสนบนแส้ม้าและเมื่อลากคันชักไปบนสายเสียงของเครื่องดนตรีจะช่วยให้เกิดแรงเสียดทานและการสั่นสะเทือนของสายเสียงนั้น เครื่องดนตรีที่มีขนาดเล็กกว่าย่อมมีคันชักที่ยาวกว่าเครื่องดนตรีที่มีขนาดใหญ่กว่าเช่นคันชักของไวโอลินจะยาวที่สุดส่วนคันชักของเบสจะสั้นสุดที่เรียกชื่อคันชักเนื่องจากคันชักในรุ่นแรก ๆ มีลักษณะคล้ายคันธนูนั่นเอง 
Brass band ( บราส แบนด์ ) 
หมายถึงแตรวงเป็นวงดนตรีขนาดย่อมประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทแตร (Brass) และเครื่องดนตรีประเภทตีกระทบ (Percussion) 
Brass family ( บราสแฟมิลิ ) 
เครื่องดนตรีที่มีอยู่ในตระกูลเครื่องลมประเภทแตรทำด้วยทองเหลืองหรือโลหะอื่น ๆ สมาชิกในตระกูลประเภทแตรวงได้แก่ แตรบิวเกิล , คอร์เน็ต , ทรัมเป็ต , อัลโตฮอร์น ( เมโลโฟน ) , เฟรนช์ฮอร์น บาริโทน , ยูโฟเนียม , ซูซาโฟน , ทรอมโบน และทูบา 
Bravura (It. บราวูรา ) 
ด้วยจิตวิญญาณ กล้าหาญ 
Breit (Gr. ไบรท์ ) 
กว้าง ๆ 
Brillant (Fr.), brillante (It. บริลลานเต ) 
สว่าง ความกระจ่างแจ้ง 
Brio (It. บริโอ ) 
แข็งขัน 
Brioso (It. บริโอโซ ) 
อารมณ์แรงดั่งไฟ , พลังวิญญาณ 
Broken chord ( โบรคเค็น คอร์ด ) 
สไตล์การใช้คอร์ดโดยการเล่นโน้ตคอร์ดทีละโน้ต เช่น การดีดสายกีตาร์ทีละสาย 
Brusco (It. บรูสโก ) 
เสียงเอะอะตึงตัง , หยาบ 
Buffa (It. บุฟฟา ) 
ตลกขบขัน 
Bugle ( บิวเกิล ) 
เครื่องดนตรีประเภทแตรทองเหลือง ซึ่งมีส่วนปากเป่า ( กำพวด ) เป็นรูปถ้วย ไม่มีลูกสูบแตร แต่เป่าเป็นเสียงได้ตัวโน้ตเพียงแปดตัวในลักษณะของอนุกรม โอเวอร์โทน โน้ตเหล่านี้คือ เสียงพื้นฐานทั้งหมดของแตรสัญญาณเรียกทางทหาร 
Burlesca (It. บัวร์เลสกา ) 
ตลกขบขัน ล้อเลียน 

คำศัพท์ดนตรีสากล (หมวดอักษร A)


A ( เอ ) ชื่อระดับเสียง เสียง A ( ลา ) ที่อยู่เหนือ C กลาง ( โด ) ซึ่งมีความถี่ 440 รอบต่อวินาที คือเสียงมาตรฐานสำหรับดนตรีและเครื่องดนตรี 
A battuta (It. อะบาตูตา ) 
ในจังหวะคงที่แน่นอน ให้กลับมาปฏิบัติในจังหวะคงที่ 
A ber (Gr. อะแบร์ ) 
แต่ 
A cappella (It. อะคาเปลลา ) 
เดิมหมายถึงเพลงโบสถ์ขับร้องหมู่สมัยโบราณซึ่งไม่ใช้เครื่องดนตรีคลอ ปัจจุบันหมายถึง เพลงขับร้องหมู่ที่ไม่ใช้เครื่องดนตรีคลอ เช่นเดียวกันโดยไม่จำกัดว่าจะเป็นเพลงโบสถ์หรือไม่ มาจากคำภาษาอิตาเลี่ยนมีความหมายว่า chapel ( หมายถึง โบสถ์ ) 
A capricio (It. อะ คาปริโซ ) 
ให้เล่นอย่างอิสระ อย่างเพ้อฝัน อย่างลวดลายซับซ้อน 
A tempo (It. อะ เทมโป ) 
ตามความเร็วเดิม ให้กลับไปที่อัตราความเร็วจังหวะปกติของเพลงนั้นหรือความเร็วเดิม 
A volonta (It. อะโวโลนตา ) 
ไม่เคร่งครัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้เล่น 
A volonte (Fr. อะโวลงเต้ ) 
ไม่เคร่งครัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้เล่น 
Accompaniment ( แอ็คคอมปานิเม้นท์ ) 
คือดนตรีคลอไปกับแนวทำนองที่เล่นโดยนักดนตรี หรือ ร้องโดยนักร้อง ดนตรีที่คลอนี้อาจใช้เปียโนหรือวง ออร์เคสตร้าหรือวงดนตรีประเภทอื่น ๆ ก็ได้ นอกจากนี้ยังหมายถึงดนตรีที่นักเปียโนใช้เล่นด้วยมือซ้าย ( ตามปกติ ) คลอประกอบทำนองที่เล่นด้วยมือขวา
bsolute music ( แอ็บสลูท มิวสิก ) 
ดนตรีที่แต่งขึ้นเพื่อลักษณะทางดนตรีอย่างเดียว โดยไม่ได้เล่าเรื่องราว รายการต่าง ๆ ฯลฯ เป็นคำตรงข้ามกับคำว่าโปรแกรมมิวสิก (program music) 
Abstract music ( แอ็บแทร็คมิวสิก ) 
ความหมายคล้ายกับแอ็บสลูท มิวสิก 
Accelerando (It. อัดเซเลรานโด ) 
เร็วขึ้น การเร่งหรือเพิ่มความเร็วขึ้นเรื่อย ๆ คำย่อคือ accel. 
Accent ( แอ็คเซ็นท ) 
การเน้นเสียง การย้ำ 
Acciaccatura (It. อัดชะคะตูรา ) 
การประดับประดาทางดนตรี เป็นโน้ตที่ปฏิบัติอย่างรวดเร็วก่อนหน้าโน้ตตัวหลักแต่ไม่นับค่าอัตราของตัวโน้ตนี้มักเล่นไปด้วยกันกับโน้ตตัวหลักดังกล่าวอัดชะคะตูรามาจากคำอิตาเลียนมีความหมายว่า บด กระแทก 
Accidental ( แอ็กซิเดนทัล ) 
การเปลี่ยนแปลงในลักษณะครึ่งเสียงโครมาติก (chromatic) ที่ไม่พบ ในเครื่องหมายตั้งบันไดเสียง 
Accordion ( แอ็กคอเดียน ) 
เครื่องดนตรีที่พกพาไปไหนมาไหนได้ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยถุง (bellows) สำหรับปั้มลมผ่านลิ้น (reeds) มีแผงคีย์บอร์ดตามลักษณะของเปียโน สำหรับการเล่นทำนองเพลง และปุ่มรูปกระดุมสำหรับการเล่นโน้ต เบส และคอร์ด มีลิ้น 2 ชุด ชนิดหนึ่งเล่นขณะที่ถุงลมถูกบังคับให้เปิด อีกชนิดหนึ่งเล่นเมื่อถุงลมถูกบังคับให้ปิด 
Acoustics ( อะคูสติก ) 
สวนศาสตร์ วิทยาศาสตร์แห่งเสียงหรือเสียงที่เกิดธรรมชาติโดยปราศจากไฟฟ้า วิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเสียง ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับการเกิดเสียง , การส่งผ่านของเสียง , การผันแปรของเสียงธรรมชาติทางวิทยาศาสตร์ของเสียงดนตรีและอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับเสียงและเสียงที่เกิดจากเครื่องดนตรี 
Adagio (It. อะดาจิโอ ) 
อย่างเชื่องช้าอย่างสบายอารมณ์ ช้ากว่าอันดานเต้แต่เร็วกว่าลาโก 
Ad libitum (L. แอ็ดลิบิตุม ) 
ตามใจผู้เล่น หมายความว่านักแสดงอาจจะปฏิบัติ ดังนี้ 
1. เปลี่ยนแปลงจังหวะ 
2. เพิ่มหรือลดแนวของการร้องหรือแนวของเครื่องดนตรีแนวใดแนวหนึ่งก็ได้ 
3. เพิ่มหรือลดข้อความทางดนตรี ซึ่งมักจะเป็นส่วนคาเดนซา (cadenza) 
4. เพิ่มส่วนคาเดนซา 
Adapted ( อะแด็ปท์ ) 
ดนตรีที่ดัดแปลงให้เข้ากับงานเช่นดนตรีที่เขียนสำหรับวงออร์เคสตร้านำมาเขียนเสียใหม่สำหรับเปียโน ดนตรี สำหรับเปียโนนำมาเขียนให้ไวโอลินเล่น หรือที่เขียนไว้สำหรับเครื่องดนตรีก็เขียนใหม่ให้คนร้อง ทั้งนี้ทำนองเพลงมิได้เปลี่ยนไป 
Adaptation ( อะแด็ปเตชั่น ) 
การเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ของบทประพันธ์เพลงมาตรฐานบทหนึ่ง 
Affabile (It. อะฟาบิเล ) 
ในลักษณะยินดี เต็มใจและงามสง่า 
Affettuosamente (It. อะเฟตตูโอซาเมนเต ) 
ด้วยความรัก ด้วยความถนุถนอม 
Affettuoso (It. อะเฟตตูโอโส ) 
ด้วยอารมณ์อบอุ่น รักใคร่ 
Affrettando (It. อัฟเฟร็ตตานโด ) 
เร็วขึ้น ตื่นเต้น 
Affrettoso (It. อัฟเฟร็ตโตโซ ) 
เร่งให้เร็วขึ้น 
Agevole (It. อะเจโวเล ) 
ตามสบาย ง่าย ๆ เรียบ ๆ 
Agilmente (It. อะจีลเมนเต ) 
อย่างปลอดโปร่ง มีชีวิตชีวา 
Agitato (It. อะกิตาโต ) 
ตื่นเต้น เร้าใจ เร่าร้อน 
Agrements (Fr. อะเกรมองต์ ) 
การประดับประดาทางดนตรี 
Aimable (Fr. เอมาเบลอ ) 
พอใจ 
Air ( แอร์ ) 
ทำนอง บทเพลงร้อง 

Aisement (Fr. เอซมอง ) 
ง่าย ๆ สบาย ๆ 
Alberti bass ( อัลแบร์ติ เบส ) 
รูปแบบการเดินแนวเบสจากโบรคเคนคอร์ด (broken chords) อัลแบร์ติเบส มาจาก ชื่อนักแต่งเพลงที่มีนามว่า ดอเมนิโก อัลแบร์ติ ( เกิดปี ค . ศ .1710) ซึ่งใช้รูปแบบการเดินเบสในบทเพลงโซนาตาของเขา 
Al fine (It. อัล ฟิเน ) 
ไปสู่ส่วนจบของเพลง 
Alla (It. อัลลา ) 
ไปยัง , ณ ที่ , ในลีลาของ .. , ตามแบบฉบับของ 
Alla breve (It. อัลลา เบรเว ) 
หมายถึงเครื่องหมายกำหนดจังหวะ g ; มีจังหวะนับสองจังหวะในแต่ละห้องโดยมีโน้ตตัวขาวนับเป็นหนึ่งจังหวะ อัลลา เบรเว 
Alla marcia (It. อัลลา มาร์เซีย ) 
ในแบบฉบับของเพลงเดินแถว 
Alla militare (It. อัลลา มิลิตาเร ) 
ในแบบฉบับของทหาร 
Allargando (It. อัลลาร์กานโด ) 
ช้าลงตามลำดับ กว้างขึ้น มักประกอบเข้ากับคำว่าเครเซนโด ( เสียงค่อย ๆ ดังขึ้น ) คำย่อคือ allarg 
Alla russa (It. อัลลา รูสซา ) 
ในแบบฉบับของรัสเซีย 
Alla turca (It. อัลลา ตูรกา ) 
ในแบบฉบับของชาวเตอร์ค ขบวนสุดท้ายของโซนาตาในคีย์เอ ( เคอเชิล 331) ของโมสาร์ท ซึ่งเขียนไว้ว่า "Alla turca" 
Alla zingara (It. อัลลา ซิงการา ) 
ในแบบฉบับของชาวยิบซี 
Allargando (It. อัลลาร์กานโด ) 
ช้าลงทีละน้อย 
Allegretto (It. อัลเลเกรทโต ) 
อย่างมีชีวิตชีวา เร็วกว่าอันดานเต แต่ช้ากว่าอัลเลโกร 

Allegrissimo (It. อัลเลกริสซิโม ) 
เร็วมาก 
Allegro (It. อัลเลโกร ) 
อย่างมีชีวิตชีวา กระฉับกระเฉง เร็วกว่าอัลเลเกรทโต แต่ช้ากว่าเพรสโต 
Allemande (Fr. อาลมานต์ ) 
(1) ในปลายศตวรรษที่ 16 เพลงเต้นรำเยอรมันในจังหวะประเภทนับสอง 
(2) ในปลายศตวรรษที่ 17 เพลงอาลมานต์ไม่ได้เป็นเพลงเต้นรำต่อไป แต่กลายเป็นส่วนหนึ่งของ เพลงประเภทสวีท (suite) ซึ่งอยู่ภายใต้เครื่องหมายกำหดจังหวะ o และมีส่วนยกของจังหวะสั้น ๆ ตามด้วยทำนองกระชั้นถี่ 
(3) ในปลายศตวรรษที่ 18 ทางตอนใต้ของประเทศเยอรมัน เพลงอาลมานด์นี้ ปรากฏคล้ายกับ เพลงเต้นรำวอลซ์ในจังหวะ k หรือ m 
Allmahlich (Ger.) 
ทีละน้อย 
Al segno (It. อัล เซนโย ) 
ไปที่เครื่องหมาย 
Al niente 
ลดลงจนไม่เหลือ 
Altissimo (It. อัลตีสซิโม ) 
สูงสุด 
Alto (It. อัลโต ) 
สูง 
1. เสียงร้องหญิงที่ต่ำกว่าโซปราโน . คอนทรัลโต 
2. แนวเสียงที่อยู่ถัดจากแนวสูงสุดในการร้องเพลงประสานเสียงสี่แนว ( โซปราโน , อัลโต , เทเนอร์และเบส ) 
3. เครื่องดนตรีที่อยู่ในแต่ละตระกูลได้แก่ อัลโตคลาริเนต , อัลโตฮอร์น , อัลโตแซกโซโฟน 
Alto clef (It. อัลโต เคลฟ ) 
กุญแจประจำหลัก C กลาง ( โด ) ที่ปรากฏอยู่บนเส้นที่สามของบรรทัดห้าเส้น โน้ตดนตรีสำหรับซอวิโอลา บันทึกอยู่ในกุญแจประจำหลักอัลโตเคลฟ 
Am (Gr. อัม ) 
บน โดย ใกล้ 
Am steg (Gr. อัมสเต็จ ) 
ปฏิบัติใกล้หย่อง 
Amabile (It. อะมาบิเล ) 
พึงใจ , นุ่มนวล , น่ารัก 
Amoroso (It. อะโมโลโซ ) 
มีเสน่ห์ 
An dem griffbrett ( อันเดมกริฟเบอร์เต้ ) 
ปฏิบัติใกล้ฟิงเกอร์บอร์ด (fingerboard) 
Ancora (It. อันโกรา ) 
อีกครั้งหนึ่ง 
Anacrusis ( อนาครูสิส ) 
จังหวะยก 
Ancora una volta (It. อันโกรา อูนา โวลตา ) 
อีกครั้งหนึ่ง 
Andantino (It. อันดานติโน ) 
ค่อนข้างช้า แต่ไม่ช้าเท่า andante 
Anadante (It. อันดานเต ) 
ความเร็วขนาดกำลังเดินไหลไปตามสบาย ช้ากว่าอัลเลเกรทโต แต่เร็วกว่าอะดาโจ 
Animato (It. อันนีมาโต ) 
ด้วยวิญญาณ เต็มไปด้วยพลัง 
Anime (Fr. อะนิเม ) 
ร่าเริง 
Anmutig (Gr. อันมูติก ) 
สง่างาม มีเสน่ห์ 
Anglaise (Fr. อองเกลซ ) 
เป็นเพลงเต้นรำฝรั่งเศส ที่มีพื้นฐานมาจากเพลงเต้นรำพื้นเมืองอังกฤษ นำไปใช้ในการเต้นรำปลายเท้า ( บัลเล่ต์ ) ของฝรั่งเศสเมื่อปลายศตวรรษที่ 17 และพบในบทเพลงสวีทที่แต่งราวศตวรรษที่ 18 
Ansioso (It. อันซิโอโซ ) 
ด้วยความกระวนกระวาย ความลังเล 

A piacere (It. อะปิอัดเชเร ) 
ตามสบายขึ้นอยู่กับผู้เล่น ใช้เหมือนคำ ad libitum 
Appassionata (It. อัพปาซิโยนาตา ) 
ด้วยความหลงใหล เสน่หา 
Appassionato (It. อัพปาซิโอนาโต ) 
ด้วยความรัก เสน่หา 
Appena (It. อาเปนา ) 
แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง 
Appoggiatura (It. อับปอจจะตูรา ) 
การประดับประดาทางดนตรี มาจากคำอิตาเลียนว่า appoggiare แปลว่า ต้องการโน้ตอื่น ซึ่งเป็นโน้ตเสียงใกล้ตัวมาเพิ่มให้เกิดความไพเราะขึ้น 
A quattro mani (It. อะ ควัตโตร มานิ ) 
สำหรับสี่มือ ( บรรเลง 2 คน ในเปียโนหลังเดียวกัน ) 
Arco (It. อาร์โค ) 
คันชักของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายอาร์โคใช้เมื่อต้องการให้โน้ตตัวต่อไปต้องใช้คันชักปฏิบัติหลังจากทำนองที่มีการใช้คำว่า pizzicato ( การดีด ) มาแล้ว 
Arditamente ( อาร์ดิเทเม็นเต ) 
อย่างกล้าหาญ 
Aria (It. อารียา ) 
เพลงร้องที่มีเครื่องดนตรีคลอประกอบซึ่งจะปรากฏในรูปการเล่นประดับ อย่างมากมายในโอเปรา (Operas) แคนตาตา (Cantatas) และ ออราทอริโอ (0ratorios) 
Arioso (It. อาริโยโซ ) 
เป็นทำนองไพเราะ 
Armonioso ( อาร์โมนิโอโซ ) 
อย่างกลมกลืน 
Arpeggiando (It. อาร์เปจจานโด ) 
เล่นในลักษณะกระจายคอร์ดแบบเครื่องดนตรีฮาร์ป 
Arpeggio (It. อาร์เพจจิโอ ) 
การกระจายคอร์ด มาจากคำอิตาเลียนว่า arpeggiare มีความหมายว่า ให้เล่นในลักษณะคล้ายฮาร์ป ( ใช้โน้ตลำดับที่ 1,3,5,8,5,3,1 ในคอร์ด ) 
Arrangement ( อะเร้นจ์เม้น ) 
การเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงดนตรี หรือการขับร้อง 
Arret ( อาเร้ท ) 
หยุด 
Ascap ( เอสเคพ ) 
ย่อมาจาก American society of composers, authors, and publishers ก่อตั้งในปี 1914 victor herbert เพื่อปกป้องลิขสิทธิ์ของนักแต่งเพลง , นักประพันธ์ , และผู้พิมพ์ มีสมาชิกเป็นนักแต่งเพลงและนักประพันธ์ประมาณ 3,000 คนและเป็นสำนักพิมพ์กว่า 400 แห่ง 
Assai (It. อะซาอี ) 
มาก allegro assai หมายถึง เร็วมาก 
Assez (Fr. อาเซ ) 
พอควร Assez vite หมายถึง เร็วพอควร ( เร็วกว่าปานกลางเล็กน้อย ค่อนข้างเร็ว ) 
Atonal ( เอโทนอล ) 
ระบบเสียงทางดนตรีที่มีเสียงหลัก 
Attacca (It. อัตคกา ) 
ต่อเนื่องไปโดยไม่หยุด ; ทันทีทันใด 
Au (Fr. โอ ) 
ไปยัง , ใน , ที่ , สำหรับ 
Au mouvement (Fr. โอมูเวอมอง ) 
กลับไปใช้ความเร็วเท่าเดิม 
Aubade ( โอบาด ) 
ดนตรียามรุ่งอรุณ มีลักษณะงดงามเงียบสงบเหมือนบรรยากาศในชนบทยามเช้า 
Aufhalten (Gr. เอาฟานเท็น ) 
ช้าลง 
Augmented intervals (It. อ็อกเมนเต็ด อินเทอร์เวิล ) 
ขั้นคู่เสียงที่เพิ่มเสียงโน้ตตัวที่ห้าขึ้นครึ่งเสียง (1,3,5#) 
Augmentation ( อ็อคเมนเทชั่น ) 
การขยายอัตราจังหวะตัวโน้ต ของโมทีฟ ให้มีอัตราจังหวะยาวกว่าเดิม 
Augmentation dot ( อ็อคเมนเทชั่น ด็อด ) 
จุดที่เขียนไว้หลังตัวโน้ต เพื่อยืดอัตราจังหวะของตัวโน้ต ให้ยาวขึ้นครึ่งหนึ่งของค่าตัวโน้ตนั้น 
Aumentando (It. เอาเมนทานโด ) 
หมายถึง Crescendo ; ดังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ 
Ausdruck (Gr. เอาส์ดรูกค์ ) 
ความรู้สึก 
Ausdruckvol (Gr. เอาส์ดรูกคโวล์ ) 
เต็มไปด้วยความรู้สึก 
Autoharp ( ออโตฮาร์ป ) 
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายซึ่งเล่นเสียงคอร์ดได้โดยวิธีกดปุ่มกระดุมเพื่อให้เกิดเสียงจากสายที่ต้องการได้ 
Authentic cadence ( ออเทนติก เคเดนซ์ ) 
ลูกจบสมบูรณ์ 
Avec (Fr. อะเว็ค ) 
ด้วย Avec ame หมายถึง ด้วยวิญญาณ 
Ave maria ( อาเวมาเรีย ) 
บทเพลงสรรเสริญพระนางพรหมจารี มาเรีย ที่เด่นมากคืออาเว มาเรีย โดย ชูเบิร์ต และ กูโนด์